คดีอาญา / Criminal case

คดีอาญา

โทษในทางอาญา : ปรับ ริบทรัพย์สิน กักขัง จำคุก ประหารชีวิต

 

ตัวอย่างคดี ที่พบเห็นได้บ่อย

» ทำร้ายร่างกาย

» ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์ ฉ้อโกง รับของโจร โกงเจ้าหนี้

» บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์

» พ.ร.บ.เช็ค

» ประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต

» ดูหมิ่น หมิ่นประมาท

» ยาเสพติด

» แชร์


การฟ้องร้องคดี ทำได้ 2 กรณี

1. แจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ

   เมื่อมีการแจ้งความต่อตำรวจ ทำการสอบปากคำและจัดทำสำนวนเสร็จแล้ว จะมีความเห็นว่าควรส่งฟ้องหรือไม่ โดยการเสนอสำนวนไปยังพนักงานอัยการ เมื่อตรวจดูสำนวนแล้ว ถ้ามีความเห็นควรส่งฟ้อง ก็จะดำเนินการฟ้องคดีอาญาต่อศาล เพื่อให้จำเลยได้รับโทษต่อไป

2. จ้างทนายความฟ้องร้องเอง

   ผู้เสียหายสามารถจ้างทนายความ เพื่อฟ้องร้องคดีเอง โดยจะมีการแจ้งความกับตำรวจหรือไม่ก็ได้ หรือกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า คดีจะไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นตำรวจ เนื่องจากผู้กระทำความผิดมีการวิ่งเต้น มีอิทธิพล หรืออาจเป็นคดีเล็กน้อย เช่น คดีเช็ค หมิ่นประมาท ถ้าแจ้งความแล้วอาจจะล่าช้ากว่าการจ้างทนายความฟ้องร้องคดีเอง

 

ข้อควรรู้คดีอาญา

ข้อแนะนำเมื่อได้รับหมายเรียกคดีอาญา (ศาลแขวง)

1. ผู้ต้องหาโทรศัพท์ไปนัดพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ครั้งที่ 1 ณ สถานีตำรวจฯ

2. โทรศัพท์สอบถามขั้นตอนการประกันตัวชั่วคราว ณ ศาลแขวงฯ

 

ข้อควรรรู้เบื้องต้นสำหรับทนายความ ในการดำเนินคดีตามพรบ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธิพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กรณีไม่มีการจับกุม

3. เมื่อผู้ต้องหาได้เข้าพบพนักงานสอบสวนและได้รับแจ้งข้อกล่าวหา พนักงานสอบสวนต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมตัวผู้ต้องหาให้แก่พนักงานอัยการ เพื่อส่งฟ้องต่อศาลภายใน 48 ชั่วโมง

4. หากไม่สามารถฟ้องทันเวลา 48 ชั่วโมง พนักงานสอบสวนหรืออัยการ ต้องยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอผัดฟ้องได้อีกคราวละไม่เกิน 6 วัน ไม่เกิน 3 คราว (หากอยู่ในระหว่างประกันตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาไม่ต้องมาศาล) ตามมาตรา 7

5. เมื่อศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องครบ 3 คราวข้างต้นแล้ว หากพนักงานสอบสวนหรืออัยการ ขอผัดฟ้องอีก ต้องอ้างเหตุจำเป็น ศาลจึงจะอนุญาต ผัดฟ้องได้คราวละไม่เกิน 6 วัน อีก 2 คราว (อยู่ในระหว่างประกันตัวชั่วคราว ผู้ต้องหาต้องมาศาลเซ็นรับทราบด้วย)

รวมทั้งสิ้น 32 วัน

หากเกิน 32 วันแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นฟ้องต้องขออนุญาตจากอัยการสูงสุด ตามมาตรา 9

6. กรณีผู้ต้องหาให้การรับสารภาพตลอดข้อหาต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนต้องพาผู้ต้องหาส่งให้พนักงานอัยการฟ้องต่อศาล โดยมิต้องทำการสอบสวนและให้ฟ้องด้วยวาจา เรียกว่า “ฟ้องใบแดง” หากผู้ต้องหาไม่ไปพบพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนต้องดำเนินการขอหมายจับต่อศาล ตามมาตรา 20

 

ประเด็น : คดีอาญาราษฎรฟ้องเอง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง ห้ามโจทก์ฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2321/2550

   ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีโจทก์ไม่มีมูลพิพากษายกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายกฟ้องโจทก์ ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2548

   ป.วิ.อ. มาตรา 220 ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องเพราะโจทก์ไม่มาศาลตามมาตรา 166 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

 

ประเด็น : หลักการรับฟังคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6131/2558

   คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้น การนำข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาส่วนอาญามารับฟังในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คำพิพากษาคดีอาญาต้องถึงที่สุด ข้อเท็จจริงนั้นเป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญาและวินิจฉัยไว้โดยชัดแจ้ง และเป็นคู่ความเดียวกัน คดีส่วนอาญาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า จำเลยมีความผิดฐานรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ของ อ. ผู้เอาประกันภัยกับโจทก์ พฤติการณ์ในคดีส่วนแพ่ง คือ พบชิ้นส่วนรถยนต์บรรทุกสิบล้อพิพาทในบริเวณอู่ซ่อมรถที่จำเลยดำเนินกิจการ จำเลยรับว่าซื้อรถยนต์พิพาทจาก ก. ราคา 200,000 บาท โดยโอนลอยทั้งที่ ก. เพิ่งซื้อมาจากบริษัท ห. ในราคา 650,000 บาท ดังนั้น จำเลยรับซื้อรถยนต์ทั้งคันไว้ในราคาต่ำผิดปกติ จึงฟังได้ว่า จำเลยรับซื้อรถยนต์พิพาททั้งคันโดยรู้ว่าเป็นทรัพย์ที่ลักมา แม้ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยรับของโจรชิ้นส่วนรถยนต์ มิได้รับของโจรรถยนต์ทั้งคันก็ตาม แต่คำพิพากษาคดีส่วนแพ่งต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่ง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 47 เมื่อคดีส่วนแพ่งฟังว่า จำเลยรับรถยนต์ไว้ทั้งคันก็ให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งคันแก่โจทก์ได้

 

รับว่าความทั่วประเทศ 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098

LINE ID : @kbv6958j

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai

  • รูปทนายคดีเช็ค.JPG
    คดีเช็คเด้ง #ทนายคดีเช็คThanuLaw การสั่งจ่ายเช็คชำระหนี้ หากนำไปขึ้นเงินแล้วถูกธนาคารปฏิเสธ อันเรียกว่า"เช็คเด้ง" มีความผิดทางอาญา ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช...

  • ทนายคดียักยอกThanuLaw.JPG
    คดียักยอกทรัพย์ #ทนายคดียักยอกThanuLaw การยักยอกทรัพย์ คือ การครอบครองทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย แล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุ...

  • รูปทนายคดีฉ้อโกง.JPG
    คดีฉ้อโกง #ทนายคดีฉ้อโกงThanuLaw หลักสำคัญของการฉ้อโกง คือผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนาทุจริต โดยการหลอกลวง ด้วยการแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริง (ที่ควรจะแจ้ง)มาตั้งแต่แรก ผลของก...

  • รูปทนายคดีหมิ่นประมาท.JPG
    คดีหมิ่นประมาท #ทนายคดีหมิ่นประมาทThanuLaw ปัจจุบัน พบการหมิ่นประมาทในรูปแบบของสื่อโซเชียลมีเดีย ออนไลน์กันมากขึ้น ทั้งโพสต์ข้อความ คลิปวีดีโอ Chat ตั้งกระทู้ หรือรูปภาพ ทางแอปพลิ...

  • รูปทนายคดียาเสพติด.JPG
    คดียาเสพติด #ทนายคดียาเสพติดThanuLaw พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 มาตรา 29 แบ่งยาเสพติดออกเป็น 5 ประเภท ประเภทที่ 1ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงรายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน...

  • รูปทนายคดีโกงเจ้าหนี้.JPG
    คดีโกงเจ้าหนี้ #ทนายคดีโกงเจ้าหนี้ThanuLaw ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 ผู้ใดเพื่อมิให้เจ้าหนี้ของตนหรือของผู้อื่น ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ซึ่งได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้...

  • ทนายคดีบุกรุกThanuLaw.JPG
    คดีบุกรุก #ทนายคดีบุกรุกThanuLaw ความผิดข้อหาบุกรุกเป็นความผิดทางอาญา ที่เกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับคดีฟ้องขับไล่ทางแพ่ง ประเด็น : คดีอาญายกฟ้อง แต่คดีแพ่งจำเลยมีภาระการพิสูจน์ คำพ...

  • รูปทนายคดีแชร์.JPG
    คดีเล่นแชร์ #ทนายคดีแชร์ThanuLaw พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6ห้ามมิให้บุคคลธรรมดาเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) เป็...

  • ปปง.jpg
    คดีฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ความผิดมูลฐาน ในมาตรา 3 มีทั้งหมด 21 มูลฐาน โดยสรุป ดังนี้ 1. ยาเสพติด 2. ค้ามนุษย์ เกี่ยวกับเพศ ค้าประเวณี เฉพาะที่เกี...

  • ปอศ.jpg
    -อยู่ในระหว่างปรับปรุงเนื้อหา-

  • ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปร...

  • พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,00...

  • ข้อแนะนำเมื่อได้รับหมายเรียกคดีอาญา (ศาลแขวง) 1. ผู้ต้องหาโทรศัพท์ไปนัดพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียก ครั้งที่ 1 ณ สถานีตำรวจฯ 2. โทรศัพท์สอบถามขั้นตอนการประกันตัวชั่วคราว ณ ศาลแขวงฯ ...
#1 โดย: donnyjar@yahoo.com [IP: 118.172.106.xxx]
เมื่อ: 2021-01-28 16:12:05
ขออนุญาติสอบถามครับว่า กรณีที่เรามีคดีอาญาเกี่ยวกับยาเสพติดเราสามารถขอลบประวัติอาชญากรรมได้ไหมครับเพราะคดีสิ้นสุดแล้วเพราะต้องการสอบเป็นข้าราชการตำรวจครับเพราะทุกวันนี้ได้สำนึกเป็นคนดีแล้วครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 214,177