แจ้งความเท็จ
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 267 ผู้ใดแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จ ลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ฐานความผิด คือ ความผิดต่อเจ้าพนักงานยุติธรรม
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ
1. เมื่อถูกร้องความเท็จ อย่าเพิ่งไปฟ้องอีกฝ่ายต่อศาล เพราะการที่ศษลจะตัดสินในคดีแจ้งความเท็จได้ จะต้องดูคำพิพากษาในคดีแรกก่อนว่า เท็จหรือจริง เพราะศาลจะตัดสินขัดจากคดีแรกไม่ได้
2. คดีแรกที่อ้างว่าเท็จนั้น จะต้องผ่านการพิสูจน์ว่าเท็จมาก่อน และคดีถึงที่สุดแล้ว เช่น ยกฟ้อง แล้วค่อยมายื่นฟ้อง
3. หากมีหลักฐานอย่างไรก็ไว้พิสูจน์ในคดีแรกว่าเราไม่ได้กระทำความผิด
รับว่าความทั่วประเทศ
ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย
ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098
LINE ID : @kbv6958j
เปิดบริการทุกวัน เวลา 8.00 - 20.00 น.
ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments