ตัวอย่าง คำให้การจำเลย คดีอาญา

อันดับ

1. ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ป.วิ.อ. มาตรา 172

2. รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ป.วิ.อ. มาตรา 176

3. รับสารภาพบางข้อหา และปฏิเสธบางข้อหา

4. ถอนคำให้การเดิม

5. คำร้องขอถอนฟ้อง คดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 35

 

1. ปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ป.วิ.อ. มาตรา 172

   ข้อ 1. จำเลยขอให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ทุกประการ รายละเอียดข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน จำเลยจะได้นำเสนอศาลศาลในชั้นพิจารณาต่อไป

หรือ

   ข้อ 1. จำเลยขอให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ และขอต่อสู้คดี

หรือ

   ข้อ 1. คดีนี้ จำเลยทราบคำฟ้องของโจทก์แล้ว ขอให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้อง ขอให้ศาลได้โปรดพิพากษายกฟ้องและปล่อยตัวจำเลยให้พ้นข้อหาด้วย ขอศาลได้โปรดอนุญาต

          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         จำเลย

คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์/เขียน

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

 

2. รับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ป.วิ.อ. มาตรา 176

   ข้อ 1. จำเลยขอให้การ รับสารภาพ ตามคำฟ้องของโจทก์ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยสถานเบา จักเป็นพระคุณต่อจำเลยและครอบครัวอย่างหาที่สุดมิได้

หรือ

   ข้อ 1. จำเลยขอให้การรับสารภาพตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้น

   อนึ่ง จำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลเดียวกัน ที่โจทก์ขอให้บวก/เพิ่ม/นับโทษต่อ ในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 111/2562 ของศาลนี้

          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         จำเลย

คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์/เขียน

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

 

3. รับสารภาพบางข้อหา และปฏิเสธบางข้อหา

   ข้อ 1. จำเลยขอให้การรับสารในข้อหาความผิดฐาน......ส่วนข้อหาความผิดฐาน......ขอให้การปฏิเสธ

          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         จำเลย

คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์/เขียน

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

 

4. ถอนคำให้การเดิม

   ข้อ 1. คดีนี้จำเลยทราบคำฟ้องของโจทก์แล้ว ขอถอนคำให้การเดิมที่ให้การปฏิเสธและขอให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามคำฟ้องของโจทก์ เนื่องจากจำเลยและโจทก์สามารถตกลงชดใช้ค่าเสียหายกันได้ ขอศาลได้โปรดลงโทษจำเลยสถานเบาด้วย จักเป็นพระคุณต่อจำเลยและครอบครัวเป็นอย่างหาที่สุดมิได้ ขอศาลได้โปรดอนุญาต

          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         จำเลย

คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์/เขียน

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

 

5. คำร้องขอถอนฟ้อง คดีอาญา ป.วิ.อ. มาตรา 35

   ข้อ 1. คดีนี้ ศาลได้โปรดนัดสอบคำให้การจำเลย ในวันนี้

   เนื่องจากจำเลยได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์แล้ว เป็นเงินจำนวน 20,000 บาท โจทก์จึงไม่ติดใจดำเนินคดีกับจำเลยอีกต่อไป จึงขอถอนฟ้องคดีนี้เสีย

   ข้อ 2. อนึ่ง จำเลยได้รับสำเนาคำร้องขอถอนฟ้องแล้ว ไม่คัดค้านขอถอนฟ้องของโจทก์ แต่อย่างใด ขอศาลได้โปรดอนุญาต

          ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด

   ลงชื่อ                         โจทก์

คำให้การฉบับนี้ ข้าพเจ้านายธนู กุลอ่อน ทนายโจทก์ เป็นผู้เรียงและพิมพ์/เขียน

   ลงชื่อ                         ผู้เรียงและพิมพ์

ข้าพเจ้านายจำทน น่าสงสาร จำเลย รับทราบการถอนฟ้องคดีนี้แล้วไม่คัดค้าน

   ลงชื่อ                         จำเลย

 

ป.วิ.อ. 

มาตรา 172 การพิจารณาและสืบพยานในศาล ให้ทำโดยเปิดเผยต่อหน้าจำเลย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

   เมื่อโจทก์หรือทนายโจทก์และจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาลแล้ว และศาลเชื่อว่าเป็นจำเลยจริง ให้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง และถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้อย่างไรบ้าง คำให้การของจำเลยให้จดไว้ ถ้าจำเลยไม่ยอมให้การ ก็ให้ศาลจดรายงานไว้และดำเนินการพิจารณาต่อไป

   ในการสืบพยาน เมื่อได้พิเคราะห์ถึงเพศ อายุ ฐานะ สุขภาพอนามัย ภาวะแห่งจิตของพยานหรือความเกรงกลัวที่พยานมีต่อจำเลยแล้ว จะดำเนินการโดยไม่ให้พยานเผชิญหน้าโดยตรงกับจำเลยก็ได้ซึ่งอาจกระทำโดยการใช้โทรทัศน์วงจรปิด สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา และจะให้สอบถามผ่านนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ หรือบุคคลอื่นที่พยานไว้วางใจด้วยก็ได้

   ในการสืบพยาน ให้มีการบันทึกคำเบิกความพยานโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุ ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงซึ่งสามารถตรวจสอบถึงความถูกต้องของการบันทึกได้ และให้ศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาใช้การบันทึกดังกล่าวประกอบการพิจารณาคดีด้วย  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

   ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามวรรคสามและวรรคสี่ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

 

มาตรา 176 ในชั้นพิจารณา ถ้าจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลจะพิพากษาโดยไม่สืบพยานหลักฐานต่อไปก็ได้ เว้นแต่คดีที่มีข้อหาในความผิดซึ่งจำเลยรับสารภาพนั้นกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างต่ำไว้ให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้น ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยได้กระทำผิดจริง

   ในคดีที่มีจำเลยหลายคน และจำเลยบางคนรับสารภาพ เมื่อศาลเห็นสมควรจะสั่งจำหน่ายคดี สำหรับจำเลยที่ปฏิเสธเพื่อให้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ปฏิเสธนั้น เป็นคดีใหม่ภายในเวลาที่ศาลกำหนดก็ได้

 

มาตรา 163 เมื่อมีเหตุอันควร โจทก์มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถ้าศาลเห็นสมควรจะอนุญาตหรือจะสั่งให้ไต่สวนมูลฟ้องเสียก่อนก็ได้ เมื่ออนุญาตแล้วให้ส่งสำเนาแก้ฟ้องหรือฟ้องเพิ่มเติมแก่จำเลยเพื่อแก้ และศาลจะสั่งแยกสำนวนพิจารณาฟ้องเพิ่มเติมนั้นก็ได้

   เมื่อมีเหตุอันควร จำเลยอาจยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของเขาก่อนศาลพิพากษา ถ้าศาลเห็นสมควรอนุญาต ก็ให้ส่งสำเนาแก่โจทก์

 

มาตรา 35 คำร้องขอถอนฟ้องคดีอาญาจะยื่นเวลาใดก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตหรือมิอนุญาตให้ถอนก็ได้ แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรประการใด ถ้าคำร้องนั้นได้ยื่นในภายหลังเมื่อจำเลยให้การแก้คดีแล้ว ให้ถามจำเลยว่าจะคัดค้านหรือไม่ แล้วให้ศาลจดคำแถลงของจำเลยไว้ ในกรณีที่จำเลยคัดค้านการถอนฟ้อง ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย 

   คดีความผิดต่อส่วนตัวนั้น จะถอนฟ้องหรือยอมความในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ แต่ถ้าจำเลยคัดค้าน ให้ศาลยกคำร้องขอถอนฟ้องนั้นเสีย

#1 โดย: ทนายธนู [IP: 184.22.251.xxx]
เมื่อ: 2019-06-01 19:23:43
สงสัยประเด็นใด สามารถสอบถามได้ หรือต้องการแชร์เพื่อเป็นความรู้ ขอเชิญกันได้เลยครับ
#2 โดย: นิรัน [IP: 113.53.16.xxx]
เมื่อ: 2020-02-01 05:53:10
ถ้าศาลตัดสินแล้วแต่เรายังปฏิเสธอยู่เราจะติดคุกเลยหรือเปล่าครับ
#3 โดย: ธนัตถ์ [IP: 110.169.128.xxx]
เมื่อ: 2020-03-08 13:35:42
ตอบ กท.#2 ศาลไหนตัดสินล่ะครับ ถ้าศาลชั่นต้นคดีอาญาทั่วไปตัดสินว่าเราผิด เราก็อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ครับ ถ้าแพ้อีก เราก็ยื่นศาลฎีกาต่อไป ถ้าศาลฎีกาว่าผิดอีก ต้องตามนั้นล่ะครับ
แต่ถ้าเป็นคดีศาลทุจริตว่าเราผิด เราก็ยื่นอุทธรณ์ ซึ่งถ้าศาลอุทธรณ์ว่าเราผิด ต้องรับโทษตามนั้น จะไม่มีศาลฎีกาคดีทุจริตครับ
#4 โดย: IP: 184.22.251.xxx [IP: 49.237.17.xxx]
เมื่อ: 2020-11-03 04:37:52
ถ้ากรณีศาลแยกสำนวนฟ้องในคดีร้วมกันมียาเสพติดครอบครองไว้เพื่อจำหน่ายต้องสู้คดียังไง
#5 โดย: อาทัต [IP: 1.47.135.xxx]
เมื่อ: 2021-11-15 08:53:13
คำให้การจำเลยจะยื่นเวลาใดก็ได้ก็ก่อนเสร็จการสืบพยานใช่หรือไม่ครับ
#6 โดย: Kalamel2525 [IP: 27.55.75.xxx]
เมื่อ: 2022-01-12 15:45:35
อันนี้ผมรับสารภาพแล้วอัยการสั่งฟ้อง
พรุ้งนี้ขึ้นศาล ศาลจะตัดสินเลยไหม
#7 โดย: Did [IP: 1.46.129.xxx]
เมื่อ: 2022-01-18 23:25:20
จำเลยไห้การยอมรับแล้วว่าทำ แต่พอผ่านมาจำเลยขอไห้การอีกรอบปฎิเสธทุกข้อกล่าวหาจ้างทนาย แบบนี้ทำได้ด้วยเหรอคะ
#8 โดย: นาย บุญมา [IP: 171.4.162.xxx]
เมื่อ: 2022-06-27 09:46:27
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยในข้อหาฆ่าคนตายโดยเจตนา ศาลไม่ได้สอบถามจำเลยว่ามีทนายความไหมจำเลยรับสารภาพ เพื่อหวังจะมีการอภัยโทษแต่จำเลยไม่กระทำความผิดตามฟ้อง แต่ไม่มีการอภัยโทษตามที่ได้ยินมา ก่อนศาลพิพากษา จำเลยให้การปฎิเสธ แต่ศาลไม่แก้คำให้การ ควรทำยังไงครับ
#9 โดย: GG [IP: 115.87.199.xxx]
เมื่อ: 2022-12-06 21:16:50
ขอบคุณมากครับ
#10 โดย: - [IP: 1.46.1.xxx]
เมื่อ: 2022-12-09 19:07:47
ในกรณีที่ยอมรับสารภาพ แล้วศาลส่งฝากขัง ผู้เสียหายไม่เอาความ ถ้ากรณีที่ได้มาขึ้นศาลอีกครั้ง มีโอกาสที่จะปล่อยตัวไหมคะ หรือว่าต้องเสียค่าปรับ+ต้องจำคุกอย่างเดียว
#11 โดย: admin [IP: 184.22.247.xxx]
เมื่อ: 2022-12-15 07:34:56
ตอบ #5 โดย: อาทัต
ยื่นในวันนัดสอบคำให้การจำเลย ครับ ปกติศาลจะระบุในหมายเรียกคดีอาญา ว่า "นัดจำเลยให้การแก้ข้อหาแห่งคดี พร้อมกับนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยาน วันที........."

ที่คุณอาทัต เข้าใจนั่นคือ คดีผู้บริโภค ครับ
#12 โดย: admin [IP: 184.22.247.xxx]
เมื่อ: 2022-12-15 07:36:08
ตอบ #7 โดย: Did

รับสารภาพในศาลแล้ว จะเปลี่ยนไม่ได้

"รับแล้วรับเลย"


แต่ถ้ารับในชั้นตำรวจ มาเปลี่ยนเป็นปฏิเสธในชั้นศาลได้
"แต่ไม่ทำกัน"
#13 โดย: 007 [IP: 58.8.15.xxx]
เมื่อ: 2023-07-17 11:02:21
ขอบคุณครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,700