ตัวอย่าง หนังสือสละมรดก

ตัวอย่าง หนังสือการสละมรดก

หนังสือการสละมรดกของ นายขอไข่ ในเล้า

เขียนที่ ที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563

   ข้าพเจ้า นายขอไข่ ในเล้า อายุ 50 ปี เลขประจำตัวประชาชน 1 1111 11111 11 1 อยู่บ้านเลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

   ขอทำหนังสือสละมรดกต่อหน้านายอำเภอที่ว่าการอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และพยานไว้ดังต่อไปนี้

   ข้อ 1. ข้าพเจ้า นายขอไข่ ในเล้า ในฐานะทายาทโดยธรรม(หรือผู้รับพินัยกรรม) ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกของนายกอไก่ ในเล้า อายุ 50 ปี เลขประจำตัวประชาชน 0 0000 00000 00 0 อยู่บ้านเลขที่ 111 หมู่ที่ 1 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

   ข้อ 2. ข้าพเจ้าขอแสดงเจตนาสละสิทธิในการรับมรดกของนายกอไก่ ในเล้า โดยสิ้นเชิง นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

   ข้อ 3. ข้อความที่กล่าวในข้อ 1. และข้อ 2. แห่งหนังสือการสละมรดกนี้ ข้าพเจ้าได้อ่านและเข้าใจโดยตลอดแล้ว เป็นการถูกต้องตรงตามความเจตนาของข้าพเจ้าที่ได้แจ้งต่อนายอำเภอจดลงไว้ ในขณะทำหนังสือนี้ข้าพเจ้ามีสติสมบูรณ์ดี จึงได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้านายอำเภอ และพยานเป็นสำคัญ

   ลงชื่อ…………………………ผู้ทำหนังสือ

          นายขอไข่ ในเล้า

   ลงชื่อ…………………………พยาน

          นายคอควาย เข้านา

   ลงชื่อ…………………………พยาน

          นางงองู ใจกล้า

 

ข้าพเจ้า นายอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ขอรับรองว่า นายขอไข่ ในเล้า ได้มาแสดงความประสงค์ให้ทำหนังสือการสละมรดกฉบับนี้ จึงจัดทำให้ดังความประสงค์

          วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2563

     ลงชื่อ…………………………นายอำเภอ

     ประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ

 

ข้อกฎหมาย ควรรู้เกี่ยวกับการสละมรดก ป.พ.พ. ม.1612

1. สละได้ทั้งในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกและผู้รับพินัยกรรม

2. วิธีการสละมรดก มี 2 วิธี

   2.1. ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(เฉพาะผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอแล้วแต่กรณี)

   2.2. ทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกับทายาทผู้มีสิทธิคนอื่น

3. ต้องกระทำภายหลังเจ้ามรดกตายเท่านั้น จะกระทำก่อนตายไม่ได้ (ป.พ.พ. ม.1619)

4. การสละมรดก ต้องสละทั้งหมด จะสละเพียงบางส่วนบางอย่างหรือทำโดยมีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลา ไม่ได้ (ม.1613)

5. การสละมรดก จะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้ (ป.พ.พ. ม.1615 ว.1)

6. ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก มีผลทำให้ผู้สืบสันดานคนนั้นเข้าแทนที่ทายาทผู้สละมรดกตามสิทธิ (ป.พ.พ. ม.1615 ว.2) เช่น พ่อสละมรดกปู่ ลูกเข้ารับมรดกของปู่แทนพ่อ

7. ผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต จะสละต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง (ป.พ.พ. ม.1611)

8. ผู้รับพินัยกรรมบอกสละ ถือว่าพินัยกรรมนั้นสิ้นผลไป ต้องนำทรัพย์มรดกกลับมาในกองมรดกเพื่อแบ่งแก่ทายาทโดยธรรม

9. การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ระหว่างทายาทโดยธรรมทุกคน สิทธิต่างๆที่มีก่อนย่อมสิ้นไป เกิดเป็นสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฟ้องบังคับให้แบ่งตามสัญญาฯ ได้เท่านั้น


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 194,595