จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
บริการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า Trademark
เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ ซึ่งเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2559
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
มาตรา 7 เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ได้แก่ เครื่องหมายการค้าอันมีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้านั้นทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น
เครื่องหมายการค้าที่มีหรือประกอบด้วยลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
(1) ชื่อตัว ชื่อสกุลของบุคคลธรรมดาที่ไม่เป็นชื่อสกุลตามความหมายอันเข้าใจกันโดยธรรมดา ชื่อเต็มของนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือชื่อในทางการค้าที่แสดงโดยลักษณะพิเศษและไม่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
(2) คำหรือข้อความอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(3) คำที่ประดิษฐ์ขึ้น
(4) ตัวหนังสือหรือตัวเลขที่ประดิษฐ์ขึ้น
(5) กลุ่มของสีที่แสดงโดยลักษณะพิเศษ
(6) ลายมือชื่อของผู้ขอจดทะเบียนหรือของเจ้าของเดิมของกิจการของผู้ขอจดทะเบียน หรือลายมือชื่อของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว
(7) ภาพของผู้ขอจดทะเบียนหรือของบุคคลอื่นโดยได้รับอนุญาตจากบุคคลนั้นแล้ว หรือในกรณีที่บุคคลนั้นตายแล้วโดยได้รับอนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรสของบุคคลนั้น ถ้ามี แล้ว
(8) ภาพที่ประดิษฐ์ขึ้น
(9) ภาพอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง และไม่เป็นภาพแผนที่หรือภาพแสดงสถานที่ทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(10) รูปร่างหรือรูปทรงอันไม่เป็นลักษณะโดยธรรมชาติของสินค้านั้นเอง หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่จำเป็นต่อการทำงานทางเทคนิคของสินค้านั้น หรือไม่เป็นรูปร่างหรือรูปทรงที่ทำให้สินค้านั้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
(11) เสียงอันไม่ได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือเสียงที่ไม่เป็นเสียงโดยธรรมชาติของสินค้านั้น หรือเสียงที่ไม่ได้เกิดจากการทำงานของสินค้านั้น
เครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะตามวรรคสอง (1) ถึง (11) หากได้มีการจำหน่าย เผยแพร่ หรือโฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นจนแพร่หลายแล้วตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และพิสูจน์ได้ว่าได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์นั้นแล้ว ให้ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ
ประโยชน์
1. ทางธุรกิจ : สร้างการจดจำต่อผู้บริโภค ตลอดจนเพิ่มมูลค่าให้กับชื่อเสียง (Goodwill)
2. ทางกฎหมาย : มีสิทธิใช้แต่เพียงผู้เดียว หากถูกผู้อื่นละเมิด สามารถฟ้องร้องดำเนินคดี เรียกค่าเสียหาย หรือเพิกถอนการจดทะเบียน อีกทั้งยังสามารโอนสิทธิ หรือรับมรดก หรืออนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าได้เช่นกัน
ประเภทของเครื่องหมาย มี 4 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น SINGHA DRINKING WATER S&P บรีส มาม่า กระทิงแดง TOYOTA KODAK KARAT Wacoal เป็นต้น
2. เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น Thai Airways Nok Air AIS facebook ธนาคารกรุงไทย บางจาก MCOT KFC เคาน์เตอร์ เซอร์วิส เป็นต้น
3. เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับ สินค้า และบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม เปิบพิสดาร แม่ช้อยนางรำ ฮาลาล (Halal) อ.ย. เป็นต้น
4. เครื่องหมายร่วม (Collective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย น้ำตาลมิตรผล pttGroup ศุภาลัย เป็นต้น
การได้มาซึ่งสิทธิ
ความคุ้มครองเครื่องหมายการค้ามิได้เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของเครื่องหมายการค้าจะต้องนำเครื่องหมายการค้าที่คิดขึ้นไปทำการยื่นขอรับความคุ้มครองและได้รับการจดทะเบียน จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครองโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ลักษณะของเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วมที่จะจดทะเบียนได้ ประกอบด้วย 3 ประการ คือ
1. มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ซื้อสินค้านั้นจดจำ แยกแยะ ทราบและเข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างจากสินค้าอื่น เช่น รูป หรือคำที่ประดิษฐ์ขึ้น อักษรที่ประดิษฐ์ขึ้น ลายมือชื่อหรือภาพของผู้เป็นเจ้าของ เป็นต้น
2. ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เช่น ธงชาติ เครื่องหมายราชการ พระบรมฉายาลักษณ์ ตราแผ่นดิน เป็นต้น
3. ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจจะทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดสินค้า โดยพิจารณาจากคำเสียงเรียกขาน รูปหรือภาพและการประดิษฐ์ของเครื่องหมาย เป็นต้น
ระยะเวลาการคุ้มครอง : 10 ปี เมื่อจะครบกำหนดสามารถที่จะต่ออายุได้เป็นคราว ๆ คราวละ 10 ปี โดยต้องยื่นคำขอต่ออายุภายใน 90 วันก่อนวันสิ้นอายุ
ข้อแนะนำก่อนยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า : ควรตรวจค้นข้อมูลเบื้องต้นในฐานข้อมูลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อตรวจดูความเหมือนคล้ายกับกันเครื่องหมายที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วหรือไม่ ทาง www.ipthailand.go.th
เอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
คำขอจดทะเบียน
1. ไฟล์รูปตัวอย่างของเครื่องหมาย (JPG / PNG) ขาวดำ หรือสี ขนาด 5×5 เซนติเมตร และรูปภาพขนาด 592 Pixel
2. ชื่อนามสกุล ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ ประเทศ อาชีพ
3. คำอธิบายรายการสินค้า / บริการ จำพวกที่จะขอรับความคุ้มครอง
4. หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท ปิดอากรแสตมป์ 60 บาท
5. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองบริษัท ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียน
6. Passport (กรณีชาวต่างชาติ)
7. วันที่ใช้เครื่องหมายการค้าเป็นครั้งแรก (ถ้ามี)
คำขอต่ออายุ
1. รายการสินค้า / บริการ ที่ต้องการต่ออายุ
2. หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน
3. หนังสือมอบอำนาจ หรือหนังสือแต่งตั้งตัวแทน ลงนาม พร้อมประทับตราบริษัท ปิดอากรแสตมป์ 60 บาท
4. บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองบริษัท ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันยื่นคำขอจดทะเบียน
5. ชื่อ ที่อยู่ เจ้าของหรือตั้งตัวแทนใหม่ กรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้พิธีสารมาดริดในประเทศไทย (Madrid Protocol)
เพื่อปกป้องปัญหา การละเมิดเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศ
กรณีเจ้าของสินค้าและบริการในไทย ไม่ได้ดำเนินการจดทะเบียนคุ้มครองไว้ อาจจะเกิดปัญหา เมื่อส่งออกสินค้าไป ก่อให้เกิดการละเมิด และอาจถูกจับได้
ประโยชน์ : เมื่อเครื่องหมายการค้าได้รับการจดทะเบียนผ่านระบบมาดริดแล้ว จะได้รับการคุ้มครองทั้งในทางแพ่งและทางอาญาที่กฎหมายภายในประเทศนั้นระบุไว้
ขั้นตอน
1. เตรียมเอกสาร และยื่นคำขอต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา โดยเครื่องหมายที่ยื่นดังกล่าวต้องได้รับการจดทะเบียนไว้เรียบร้อยบแล้ว
2. สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญา ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมชำระค่าธรรมเนียม แล้วส่งคำขอจดทะเบยนไปยังสำนักงานระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
3. สำนักงานระหว่างประเทศ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกตรวจสอบและตอบกลับ
4. หากถูกต้องครบถ่วน ดำเนินการกระจายคำขอจดทะเบียนไปยังประเทศต่างๆที่ถูกระบุขอรับความคุ้มครอง
5. สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศที่ถูกระบุความคุ้มครอง ตรวจสอบ ดำเนินการจดทะเบียน แล้วแจ้งผลกลับมายัง ภายใน 18 เดือน
บทกำหนดโทษ
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
มาตรา 107 กรณีแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อนายทะเบียนหรือคณะกรรมการต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 108 กรณีปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองเครื่องหมายร่วม จำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 400,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 109 กรณีเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 274 ผู้ใดเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนภายในหรือนอกราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 272 ผู้ใด
(1) เอาชื่อ รูป รอยประดิษฐ์หรือข้อความใดๆ ในการประกอบการค้าของผู้อื่นมาใช้ หรือทำให้ปรากฏที่สินค้า หีบ ห่อ วัตถุที่ใช้หุ้มห่อ แจ้งความ รายการแสดงราคา จดหมายเกี่ยวกับการค้าหรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกัน เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าหรือการค้าของผู้อื่นนั้น
(2) เลียนป้าย หรือสิ่งอื่นทำนองเดียวกันจนประชาชนน่าจะหลงเชื่อว่าสถานที่การค้าของตนเป็นสถานที่การค้าของผู้อื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง
(3) ไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความเท็จเพื่อให้เสียความเชื่อถือในสถานที่การค้า สินค้า อุตสาหกรรมหรือพาณิชย์การของผู้หนึ่งผู้ใด โดยมุ่งประโยชน์แก่การค้าของตน
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ความผิดตามมาตรานี้ เป็นความผิดอันยอมความได้
ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายฟรี
เปิดบริการทุกวัน 7.00 - 18.00 น.
ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน
ตัวอย่างคำสั่งนายทะเบียน
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments