ยาเสพติด
คดียาเสพติด
พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2564 มาตรา 29 แบ่งยาเสพติดออกเป็น 5 ประเภท
ประเภทที่ 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรง รายการที่สำคัญ คือ เฮโรอีน แมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า) ยาไอซ์ แอมเฟตามีน เอ็กซ์ตาซี ยาอี และแอลเอสดี (ยาเลิฟ)
ประเภทที่ 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป รายการที่สำคัญ คือ ยาเค (เคตามีน) ใบโคคา(Coca) โคเคนหรือโคคาอีน(Cocaine) โคเดอีน(Codeine) ฝิ่นยา เมทาโดน มอร์ฟีน(Morphine)
ประเภทที่ 3 ยาเสพติดให้โทษที่มีลักษณะเป็นต้นตำรับยา และมีประเภท 2 ผสมอยู่ในสูตร เช่น ยาแก้ไอ ยาแก้ท้องเสีย
ประเภทที่ 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือ 2 รายการที่สำคัญ คือ อาเซติคแอนไฮไดรด์ อาเซติคคลอไรด์
ประเภทที่ 5 ยาเสพติดให้โทษที่ไม่เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึง 4 มี 4 รายการ คือ พืชฝิ่น กัญชา พืชกระท่อม เห็ดขี้ควาย
อัตราโทษที่สำคัญ ยาเสพติด ประเภทที่ 1
มาตรา 145 วรรค 1 ผลิต นำเข้า ส่งออก ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในความครอบครอง
: จำคุกไม่เกิน 15 ปี และปรับไม่เกิน 1,500,000 บาท
มาตรา 145 วรรค 2 ทำเพื่อการค้า
: โทษจำคุกตั้งแต่ 2 - 20 ปี และปรับตั้งแต่ 200,000 - 2,000,000 บาท
มาตรา 145 วรรค 2 ทำในฐานะผู้สั่งการใหญ่ เครือข่ายอาชญากรรม
: โทษจำคุกตั้งแต่ 5 - ตลอดชีวิต และปรับ 500,000 - 5,000,000 บาท หรือประหารชีวิต
เสพ มาตรา 162
: จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ขับเสพ
: -
เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ได้แก่บุคคลดังนี้
1. ข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 เช่น ปลัดอำเภอ
2. นายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ตั้งแต่ยศ ร้อยตำรวจตรี
3. เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. โดยตำแหน่ง
คำแนะนำจากทนายความ
1. เมื่อโดนตำรวจ หรือ ป.ป.ส.จับ และดำเนินคดี ควรทำอย่างไร
ตอบ อ่านข้อความใน "บันทึกการตรวจค้น/จับกุม , บันทึกคำให้การของผู้ต้องหา" ให้ละเอียดว่าตรงกับความเป็นจริง ก่อนลงลายมือชื่อ
2. คำรับสารภาพ ในชั้นจับกุม จะมีผลดีผลเสียอย่างไร
ตอบ คำรับสารภาพ ไม่จำเป็นต้องรับในชั้นจับกุม หรือชั้นพนักงานสอบสวน
เพราะถ้อยคำรับสารภาพของผู้ถูกจับกุม ห้ามรับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษ โดยเด็ดขาด ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคท้าย ฉะนั้น แม้ให้การรับสารภาพ ก็ไม่ได้มีผลเสียต่อรูปคดี ยังสามารถกลับคำให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวน และในชั้นศาล ได้
ในด้านผลดี คือ สามารถนำมาเป็นเหตุบรรเทาโทษได้
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2548
คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนซึ่งเป็นพยานบอกเล่า แม้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 จะอนุญาตให้อ้างเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยที่ 2 ได้ แต่การใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานต้องทำด้วยความระมัดระวัง เพราะมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่ดีที่สุดที่โจทก์พึงนำมาแสดง ดังนั้น จึงต้องพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่นของโจทก์และพฤติการณ์ในการได้มาซึ่งคำให้การรับสารภาพดังกล่าวด้วย
แม้คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ตามบันทึกการจับกุมจะมีใจความสอดคล้องกับคำเบิกความของพันตำรวจตรี ว. แต่บันทึกคำให้การรับสารภาพที่พันตำรวจตรี ว. ได้ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเขียนบันทึกคำให้การรับสารภาพ โดยให้จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อ กลับมีใจความที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คงมีแต่ข้อความในสามบรรทัดสุดท้ายเท่านั้นที่พอจะเกี่ยวข้องกับเรื่องที่จำเลยที่ 2 ถูกตรวจค้นและจับกุมในขณะเกิดเหตุ แต่ก็มิได้แสดงให้เห็นด้วยว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนเกี่ยวข้องกับเมทแอมเฟตามีนของกลาง พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมจึงขัดแย้งกันเองในข้อสำคัญ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อของพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนด้วย เพราะนอกจากคำให้การตามคำให้การรับสารภาพซึ่งวินิจฉัยว่าเป็นคำให้การปฏิเสธ จะขัดแย้งตรงกันข้ามกับคำให้การรับสารภาพตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาแล้ว ยังปรากฏว่าหลังจากเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 2 กับพวกเวลา 0.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่จำเลยที่ 2 ถูกส่งตัวให้แก่พนักงานสอบสวน จำเลยที่ 2 ถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องโดยเจ้าพนักงานตำรวจหลายคนเป็นเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และเมื่อพันตำรวจตรี ช. พนักงานสอบสวนได้รับตัวจำเลยที่ 2 ไว้แล้ว ได้ทำการสอบปากคำจำเลยที่ 2 ต่อเนื่องไปจนถึงเวลา 12 นาฬิกา ที่นำตัวจำเลยส่งไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพไว้ด้วย ดังนั้น การสอบปากคำจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนรวมทั้งการนำจำเลยที่ 2 ไปชี้ที่เกิดเหตุและถ่ายภาพ จึงมีเหตุสมควรสงสัยว่าน่าจะเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 2 มีความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียทั้งร่างกายและจิตใจ และมีผลกระทบต่อน้ำหนักความน่าเชื่อของคำรับสารภาพที่ได้รับจากจำเลยที่ 2 ด้วย พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1130/2553
การที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมว่ากระทำความผิดตามฟ้องถือได้ว่าเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 78
3. ประกันตัว ได้หรือไม่
ตอบ สามารถยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวได้ ทั้งในชั้นต้น อุทธรณ์ ฏีกา ในกรณีอัตราโทษไม่สูง หากไม่ปรากฎว่าน่าจะมีพฤติการณ์หลบหนี หรือไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ก็ไม่มีเหตุให้ออกหมายขัง
ในคดีมีอัตราโทษสูง โดยปกติศาลมักไม่อนุญาต เพราะเกรงว่าจะหลบหนี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 108/1 ซึ่งจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้
วงเงินประกัน ตรวจสอบได้ตามบัญซีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกันการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
คำแถลงขอติด EM ศาลจะลดวงเงินหลักประกันลงประเมิน 70-80 %
4. คดียาเสพติด เป็นที่สุด ที่ศาลใด
ตอบ ศาลอุทธรณ์ ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 มาตรา 18 เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นให้ฎีกาได้ ตามมาตรา 116 และมาตรา 19
5. ยาเสพติดเท่าใด ให้ถือว่า "มีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่าย"
ตอบ ปริมาณคำนวณสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 0.375 กรัมขึ้นไป หรือจำนวน 15 หน่วยการใช้ขึ้นไป
เหตุสงสัยครอบครองไว้เพื่อจำหน่าย เช่น มีเครื่องชั่ง ถุงพลาสติกชนิดใสหลายใบ รายชื่อลูกค้า ข้อมูลประวัติของตำรวจ เป็นต้น
เป็นเพียงข้อสันนิษฐานทีไม่เด็ดขาด สามารถหักล้างได้ ตามมาตรา 14 วรรค3, 15 วรรค4, 20 วรรค3
6. บทนิยามของคำว่า "จำหน่าย"
ตอบ หมายถึง ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้
7. กฎหมาย เพื่อให้โทษลดลง ในคดียาเสพติด มีหรือไม่ อย่างไรบ้าง
ตอบ มี ถ้าผู้ต้องหาให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการขยายผลจับกุมผู้กระทำความผิดได้ ศาลจะลงโทษผู้ต้องหาน้อยเพียงใดก็ได้
วิธีการขยายผล : ผู้กระทำความผิดต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ที่อยู่ และรูปพรรณสัณฐาน และหมายเลขโทรศัพท์ จากนั้นใช้โทรศัพท์ของตัวเองโทรไปติดต่อขอซื้อ และหลอกล่อ เพื่อนัดส่งยา
ประเด็น : คำวินิจฉัยศาลฏีกา ไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2548
ป.อ. มาตรา 56 วรรคหนึ่ง กำหนดเงื่อนไขที่จะรอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยได้นั้น ต้องปรากฏว่าจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ดังนั้น เมื่อจำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้ว ก็ไม่อาจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้อีก โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยได้รับโทษมาแล้วเพียงใด
ป.อ. มาตรา 58 บัญญัติว่า "...ภายในเวลาที่ศาลกำหนดตามมาตรา 56 ผู้ที่ถูกศาลพิพากษาได้กระทำความผิด... และศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกสำหรับความผิดนั้น ให้ศาลที่พิพากษาคดีหลัง... บวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีหลัง..." ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย จึงต้องนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษจำคุกของจำเลยในคดีนี้ แม้จำเลยจะรับโทษปรับ หรือถูกกักขังแทนค่าปรับ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมความประพฤติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นครบถ้วนแล้วก็ตาม
กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522
มาตรา 100/2 ถ้าศาลเห็นว่าผู้กระทำความผิดผู้ใดได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นก็ได้
ดังนั้น เมื่อให้ความช่วยเหลือในการบอกข้อมูลสำคัญกับเจ้าหน้าที่ จะเป็นประโยชน์ในการปราบปรามผู้กระทำความผิด
สรุป เมื่อถูกจับ ควรให้ความร่วมมือในการขยายผล เพราะจะได้ประโยชน์ จากมาตรา 100/2 ซึ่งมีการนำมาใช้กันมาก
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฏีกา เช่น ให้ข้อมูลที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน ยืนยันรูปถ่าย ของผู้ที่ว่าจ้างให้ขนยาเสพติด ได้รับลดโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6408/2549
ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิลำเนาที่อยู่ รูปพรรณสัณฐาน และรายละเอียดอื่น ๆ ของ ช. ผู้ที่ว่าจ้างให้จำเลยทั้งสามขนยาเสพติดให้โทษของกลางไปส่งให้แก่ลูกค้า เมื่อพนักงานสอบสวนให้ดูรูปถ่ายของ ส. จำเลยทั้งสามยืนยันว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับ ข. จริง จนเป็นเหตุให้มีการออกหมายจับ ส. จากข้อเท็จจริงดังกล่าวนับว่าจำเลยทั้งสามได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานสอบสวน จึงเห็นสมควรวางโทษต่ำกว่าที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 เมื่อเหตุที่ศาลฎีกาลดโทษให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ถอนฎีกาซึ่งมีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาก็ตาม ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 1 ที่มิได้ฎีกาด้วยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
7. เพิ่มโทษ บวกโทษ มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ การเพิ่มโทษ คดียาเสพติด หากเคยต้องโทษจำคุกมาก่อนและกลับมากระทำผิดอีก จะเพิ่มอีกครึ่งหนึ่งของโทษครั้งหลัง ตามพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97
การบวกโทษ คือ บวกโทษของคดีก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในระหว่างรอลงอาญา เข้ามาในคดีปัจจุบัน
ประวัติการทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ที่มีการชะลอการฟ้อง ไม่สามารถนำมาเพิ่มโทษ หรือบวกโทษได้ แต่อัยการมักจะอ้าง เพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจของศาลในการลงโทษจำเลย
8. คำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน(Accomplice witness) หรือพยานบอกเล่า มีผลอย่างไร ศาลจะรับฟังได้ไหม
ตอบ รับฟังได้ แต่ต้องด้วยความระมัดระวัง มีน้ำหนักน้อย ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยลำพัง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227/1 จะต้องมีพยานหลักอื่นประกอบเพิ่มเติม เช่น พบของกลาง หลักฐานการโอนเงิน บัญชีธนาคาร หมายเลขโทรศัพท์ การเดินทาง ที่พัก ยานพาหนะ เป็นต้น
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4115/2551
คำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้รับฟังคำให้การนี้เสียทีเดียว รับฟังได้แต่ต้องรับฟังด้วยความระมัดระวัง เพียงแต่คำซัดทอดระหว่างผู้ร่วมกระทำความผิดเพียงอย่างเดียวเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักนัอย ต้องมีพยานหลักฐานอื่นมาประกอบการพิจารณาความผิดด้วย เมื่อพยานโจทก์มีเพียงคำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดเพียงปากเดียวไม่มีพยานอื่นมาสนับสนุน จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้
9. สายลับตำรวจ จำเป็นต้องสอบปากคำด้วยไหม
ตอบ ไม่จำเป็นต้องเก็บหลักฐานไว้ ก็ถือเป็นการหาหลักฐานที่ชอบ
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6397/2541
ความผิดที่จำเลยกระทำเป็นความผิดซึ่งหน้า แม้จำเลย จะได้กระทำในที่รโหฐาน เจ้าพนักงานตำรวจซึ่งมี อำนาจสืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายย่อมมีอำนาจจับจำเลยได้โดยไม่ต้องมีหมายจับหรือหมายค้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78 การที่เจ้าพนักงานตำรวจเป็นผู้จัดหาธนบัตรให้แก่สายลับ ไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลย ถือเป็นการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งเจ้าพนักงานตำรวจผู้มีอำนาจ สืบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดปฏิบัติไปตามอำนาจ และหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด ไม่ถือว่าเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ การที่พนักงานสอบสวนปกปิดชื่อและตัวสายลับไม่ได้ สอบปากคำของสายลับไว้เป็นหลักฐาน ก็เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบดำเนินคดี และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะสอบสวนบุคคลใดเป็นพยานได้ การที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสอบปากคำสายลับไว้เป็นหลักฐานไม่ถือว่าการสอบสวนไม่ชอบ คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนเป็นไปโดยสมัครใจตามความสัตย์จริงจึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้
10. ถูกจับนอกบ้าน หากตำรวจจะเข้าไปค้นบ้าน ต้องมีหมายค้น ไหม
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. อาศัยอำนาจต้อง พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 มาตรา 14 วรรค 1 (1)(2)(3)(4)(5) และ (6)
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7387/2543
ก่อนการค้นบ้านผู้ต้องหาครั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้จับกุม ท. พร้อมเมทแอมเฟตามีนจำนวน 95 เม็ดในเวลา 16 นาฬิกาเศษ การค้นในที่รโหฐานตามปกติจะต้องกระทำในเวลากลางวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 96 ขณะนั้นเป็นเวลาเย็นใกล้จะมืดแล้ว ประกอบกับยาเสพติดเป็นสิ่งของที่ขนย้ายหลบหนีได้ง่ายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน นอกจากนี้สถานีตำรวจอำเภอห้างฉัตรมิได้อยู่ ใกล้กับศาลชั้นต้น การไปขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายค้นย่อมทำให้เนิ่นช้า กว่าจะเอาหมายค้นมาได้เมทแอมเฟตามีนอาจจะถูกโยกย้ายเสียก่อนแล้ว ดังนั้น จึงเข้าข้อยกเว้นให้ค้นได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นของศาลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92(4)
11. การขอคืนของกลาง มีหลักเกณฑ์ อย่างไร
ตอบ บุคคลภายนอกต้องเป็นเจ้าของที่แท้จริง และมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด โดยต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 36
12. ผู้ช่วยเหลือ ผู้กระทำความผิดคดียาเสพติด ตัวอย่างเช่นอะไรบ้าง และมีโทษอย่างไร
ตอบ ช่วยก่อนและขณะ ทำความผิด เช่น จัดหารถยนต์ให้ ให้ที่พัก ช่วยปกปิด ซ่อนเร้น มีโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิด
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2549
จำเลยที่ 2 รู้ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย การที่จำเลยที่ 2 ขับรถไถนาพาจำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนไปส่งให้แก่ผู้ค้าเมทแอมเฟตามีนนั้น ย่อมเป็นการช่วยเหลือและให้ความสะดวกแก่จำเลยที่ 1 ก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิดดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ เป็นกฎหมายพิเศษที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนหรือช่วยเหลือผู้กระทำความผิดก่อนหรือขณะกระทำความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 2 เพราะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับโทษสูงขึ้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและอ้างมาตรา 6 (1) ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวมาในคำขอท้ายฟ้อง จึงต้องถือว่า โจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษตามมาตราดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
13. ผู้กระทำความผิดอายุอยู่ระหว่าง 18 - 20 ปี มีข้อกฎหมายใด ลงโทษน้อยกว่าอัตราโทษที่กำหนด ไหม
ตอบ มี ตาม ป.อ. มาตรา 76 กำหนดลดโทษ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่ง ก็ได้ อ้างอิง ฎ.17058/2555
14. ผู้เสพ ต้องรับโทษ อย่างไร
ตอบ บำบัดฟื้นฟู เมื่อสำเร็จ ถือว่าพ้นจากความผิด
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5377/2562
พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์ที่จะบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดซึ่งมีสภาพเป็นผู้ป่วยอย่างหนึ่ง มิใช่อาชญากรปกติเพื่อให้หายจากการติดยาเสพติด โดยในระหว่างการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้พนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องไว้ก่อนตามมาตรา 22 วรรคหนึ่ง และเมื่อผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นที่พอใจของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ถือว่าผู้นั้นพ้นจากความผิดที่ถูกกล่าวหาตามมาตรา 19 อันเป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 33 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้แม้ข้อเท็จจริงปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า เดิมจำเลยถูกพนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาว่ากระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนและฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีน อันเป็นความผิดฐานอื่นที่มีโทษจำคุกรวมอยู่ด้วย ไม่ต้องด้วยเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนจะต้องนำตัวจำเลยไปศาลเพื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลส่งตัวจำเลยไปรับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ตาม แต่ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดสุพรรณบุรีก็มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลยเฉพาะในความผิดฐานเป็นผู้ขับขี่เสพเมทแอมเฟตามีนตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 ทวิ วรรคหนึ่ง, 157/1 วรรคสอง แล้วโอนคดีมาให้โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนที่ศาลชั้นต้นเป็นคดีนี้ ย่อมมีผลเท่ากับว่าจำเลยต้องหาว่ากระทำความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีนเพียงฐานเดียว อันเป็นพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งทำให้ไม่อาจนำตัวจำเลยไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงได้ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย ดังนั้น เมื่อความผิดที่จำเลยถูกกล่าวหาคงเหลือเฉพาะความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน โจทก์ย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 19 วรรคหนึ่ง ก่อน โดยต้องให้พนักงานสอบสวนรับตัวจำเลยกลับไปเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นให้มีคำสั่งให้ส่งตัวจำเลยไปตรวจพิสูจน์การเสพหรือการติดยาเสพติดต่อไป เพื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษแทนการฟ้องคดีตามปกติ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้จำเลยได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเสียก่อนนั้น เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2562)
15. การมอบยาให้เพื่อนในขณะที่มีอุปกรณ์เสพอยู่แล้ว ถือเป็นการจำหน่ายแจกจ่าย หรือไม่
ตอบ ไม่
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2549
จำเลยมอบเมทแอมเฟตามีนให้ ส. เพื่อให้ ส. เตรียมเมทแอมเฟตามีนให้อยู่ในสภาพพร้อมเสพ แล้วจำเลยและ ส. เสพด้วยกันในเวลาต่อเนื่องกับที่ ส. ได้รับเมทแอมเฟตามีนมา แสดงว่าจำเลยมีเจตนาจะเสพเมทแอมเฟตามีน แต่เนื่องจาก ส. มีอุปกรณ์การเสพแล้วจึงมีเจตนาเสพเมทแอมเฟตามีนด้วยกันในภายหลัง จำเลยจึงให้ ส. ช่วยดำเนินการให้เท่านั้น เป็นการมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่ผู้กระทำความผิดด้วยกัน มิใช่เรื่องที่จำเลยมีเจตนาแจกจ่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่ ส. การกระทำของจำเลยจึงหาได้อยู่ในความหมายของคำว่า "จำหน่าย" ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ไม่
ประเด็น : แบ่งยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน ) ให้เพื่อนเสพเพียง 1 เม็ด ถือว่าเป็นการจำหน่าย ตามความใน มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5834/2559
จำเลยนำเมทแอมเฟตามีน 1 เม็ด มาแบ่งให้ ธ. เสพ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำให้ยาเสพติดแพร่กระจายไปยังบุคคลอื่นโดยวิธีการให้อันเป็นการจำหน่ายตามบทนิยามคำว่า "จำหน่าย" ตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แล้ว จำเลยจึงมีความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน
แนวทางต่อสู้คดี / รับสารภาพ
1. ถ้าจะสู้คดี ควรจะเตรียมพยานหลักฐานอย่างไรบ้าง
ตอบ
1.1. ตรวจดูบันทึกจับกุมของตำรวจ เพราะจะเบิกความขัดแย้งกับบันทึกจับกุม ไม่ได้
1.2. ของกลางที่พบในบ้าน หากอยู่ในจุดซุกซ่อนไว้อย่างมิดชิด คนผิด คือ เจ้าของห้อง แต่คนอื่นๆที่อยู่ในห้องด้วย อาจมีข้อสงสัยว่า ไม่ทราบว่ามียาเสพติดอยู่ในห้อง ส่วนใหญ่ถ้าเจ้าของรับเป็นเจ้าของแล้ว คนอื่นๆก็จะหลุด
ของกลางในขณะถูกจับ ถ้าอยู่กับตัวก็เป็นเรื่องยากในการต่อสู้คดี แต่ถ้าไม่ได้อยู่ที่ตัว หรือยังมีข้อสงสัยว่าใครเป็นเจ้าของ ก็ยังพอมีโอกาสต่อสู้คดีได้
1.3. ธนบัตรล่อซื้อ หากไม่มีพยานมายืนยันว่าเห็นจำเลยจำหน่ายยาเสพติด อาจมีข้อสงสัยว่าจำเลยอาจรับธนบัตรไว้ด้วยเหตุผลอื่น
1.4. การล่อซื้อยาเสพติด ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้มีไว้ในความครอบครอง แต่ถูกบังคับ หลอกล่อ หรือใช้ให้ไปหายาเสพติดมาส่งมอบให้สายลับ ถือว่า เป็นการแสวงหาหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
1.5. พยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ สถานที่เกิดเหตุ พฤติการณ์การจับกุม การข่มขู่ทำร้ายร่างกาย เพื่อให้รับสารภาพ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อรูปคดี ต้องสอบถามให้ละเอียด
2. โอกาสชนะคดี ขึ้นอยู่กับอะไร
ตอบ การนำสืบข้อมูลและข้อเท็จริงของฝ่ายจำเลย หากศาลสงสัยว่ายาเสพติดอาจมิใช่ของจำเลย ก็มีโอกาสยกฟ้องสูง
3. กรณีรับสารภาพ และไม่มีความประสงค์จะต่อสู้คดี ควรดำเนินการอย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ตอบ ให้ทนายความยื่นคำร้องประกอบคำรับสารภาพต่อศาล ตาม ป.อ. มาตรา 56 เพื่อขอให้ลงโทษสถานเบา โดยวิธีเขียนในส่วน อายุ การศึกษา หน้าที่การงาน สุขภาพร่างกายหรือจิต ความรับผิดชอบในครอบครัว การรู้สึกผิดชอบชั่วดี การพยายามแก้ไขบรรเทาผลร้าย หรือเหตุอื่นที่ควรปราณี
และยังสามารถแถลงขอให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติ สืบเสาะ เกี่ยวกับ อายุ การศึกษา อาชีพ ภาระดูแลพ่อแม่ลูก คุณงามความดี ต่างๆ เพื่อใช้ประกอบการลดโทษ
ซึ่งการรับสารภาพนั้น ศาลจะลด ทั้งโทษจำคุกและค่าปรับ
4. การรอลงอาญา มีเงื่อนอย่างไรบ้าง
ตอบ จำเลยไม่เคยทำผิดมาก่อน และศาลพิพากษาโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56
โดยไม่ปรากฎว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน หรือได้รับโทษมาก่อน แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ รวมถึงที่เคยจำคุกมาก่อน ก็รอการโทษได้ แต่ต้องเป็นโทษสถานเบา คือ ไม่เกิน 6 เดือน
ตัวอย่าง คำวินิจฉัยศาลฏีกา รอการลงโทษ
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1317/2547
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม), 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 76 หนึ่งในสามนั้นเป็นการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในส่วนที่เป็นคุณบังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 และเป็นการแก้ไขโดยปรับบทกฎหมายให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมสอดคล้องกับบทกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยวางโทษจำคุกก่อนลดมาตราส่วนโทษจำคุกกระทงละ 4 ปี อันเป็นโทษขั้นต่ำของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ตรงตามดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่ลงโทษตามขั้นต่ำของกฎหมายก่อนมีการแก้ไข และลดมาตราส่วนโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 76 หนึ่งในสาม คงจำคุกกระทงละ 2 ปี 8 เดือน จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 กึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี 4 เดือน นั้นถูกต้องแล้ว
จำเลยอายุ 19 ปี กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำเลยไม่เคยมีประวัติในการกระทำความผิดกับไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน และถูกขังในระหว่างฎีกา ทำให้หลาบจำบ้างแล้ว ประกอบกับเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนเพียง 4 เม็ด ถือว่ามีจำนวนเล็กน้อย เพื่อให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดีต่อไป สมควรที่จะรอการลงโทษให้จำเลย
5. การฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด มีปริมาณของยาเสพติด เท่าใด
ตอบ ประเภทที่ 1 เฮโรอีน น้ำหนักสุทธิไม่เกิน .1 กรัม เมทแอมเฟตามีน ไม่เกิน 5 เม็ด หรือน้ำหนักสุทธิไม่เกิน .5 กรัม
ประเภทที่ 2 โคคาอีน น้ำหนักสุทธิไม่เกิน .2 กรัม ผิ่น น้ำหนักสุทธิไม่เกิน 50 กรัม
ประเภทที่ 5 กัญชา น้ำหนักสุทธิไม่เกิน 50 กรัม
แต่หากผู้ติดยาเสพติด ไม่ให้ความร่วมมือหรือปฏิบัติตามแผนบำบัดฟื้นฟู จนคณะอนุกรรมการเห็นว่าไม่เหมาะสม ก็จะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดี (ถูกจำคุก 3 เดือน)
อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2562
จำเลยเข้าสู่กระบวนการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง แล้ว แต่การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามแผนฟื้นฟู จนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีหนังสือเตือนจำเลยให้มารายงานตัวรวมทั้งประสานผู้นำชุมชนและเพื่อนบ้านให้ช่วยติดตามจำเลย และยังขยายระยะเวลาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดให้จำเลยออกไปอีกถึง 5 ครั้ง ครั้งละ 6 เดือน จำเลยยังไม่มาพบเจ้าหน้าที่ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดสามารถนำเอาพฤติการณ์ของจำเลยมาพิจารณาว่า วิธีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดไม่เหมาะกับจำเลย และวินิจฉัยว่าการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดของจำเลยไม่เป็นที่พอใจตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.2545 มาตรา 13 (8), 25 ประกอบมาตรา 33 วรรคสอง คำสั่งของคณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเรื่อง การพิจารณาผลการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
นโยบายทีมทนายความ คดียาเสพติด
: วางแนวทางต่อสู้คดีอย่างชัดเจน ไม่วิ่งเต้น
รับว่าความทั่วประเทศ ทนายคดียาเสพติด
ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย
ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098
LINE ID : @tn13
เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.
ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน
วันที่11ขึ้นศาลแต่เคยติดคุกคดียามาแล้วปี50พ้นโทษปี51
และปีที่แล้วโดนคดีเสพยารายงานตัวครบแล้ว
อย่างนี้จะโดนคดีกัญชากีปีค่ะ
ยาไอซ์0.6กรัม4ถุง
ยาบ้า10เม็ด4ถุง
จะโดนจำคุกกี่ปีค้ะ
และเราให้ทนายเขียนแถลงกับศาล ว่าเลี้ยงดูพ่อพิการ แม่รักษาโรคหัวใจ ส่งลูกเรียน ได้ไหมค้ะ
พี่โดนจับขับเสพเป็นคดีแรกโดนติดกี่ปีค่ะ
ไม่มีของกลางค่ะ
เรียนควรทำยังไงดีค่ะเขาเป็นหัวหน้าครอบครัว
วันเกิดเหตุแฟนออกไปส่งมะขามให้คนรู้จัก(ญาติ)
พอค่บรถถึงปากซอยยุ่ๆมีรถตำรวจมาจอดดักหน้าแฟนก้อขับรถเพราะตกจัยว่าอรัยเร่งรถหนีเข้าซอย
ตำรวจขับตามมาแฟนก้อเลยจอดแฟนมีลุกสาว6ขวบไปด้วย จอดรถปุบตำรวจก้อขอตรวจค้น จำนวนตำรวจ6-7คน เวลาหกโมงจะทุ่มนึงได้ แต่ก้อไม่เจอของกางผิดกดหมายอรัยไม่มีการรอชื้อไม่มีเบอแบ่งอรัยเลยแค่พฤติการตรงส่งสัย **แต่แฟนก้อเสพคับ เวลานั้นคงกลัวด้วยเพราะว่าไปกับลุกหกขวบแค่สองคน ต่อมาตำรวจได้มาที่บ้านกับแฟนเพื่อข้น แฟนเลยบอกไม่ต้ิงค้นเลยเดินไปหยิบยาให้ตำรวจคิดแค่ว่าคงโดนแค่เสพอต่กับโดนจำหน่ายแล้วไปที่โรงพัก (ตำรวจบอกว่ามีพฤติการต้องสงสัย
แบบนี้เรามีทางจะสุ้ว่ามีไว่เพื่อเสพได้บ้างใหมคับลุกสองคนดุแลยายวัย73อีกคนเีรายมรับคือว่าเสพไม่ได้ขายคือชั้นสอบสวนแฟนไม่มีความรุ้รื่ิงกชหมายอีกอย่างเปนหว่งลุกที่ไปด้วยกันจึงเช็นรัยไป พอมีทางบ้างไหมคับ
โดนรอบ2หลังจากออกจากเรือนจำประมาณ 1ปี
สามารถทำเรื่องขออนุญาตศาลไม่ต้องเข้าคุก เพราะ อยู่กับยายสองคน ต้องดูแลยาย
แต่ต้องตรวจเลือดส่งศาลทุกสัปดาห์ ได้ไหมคะ
โดนทหารจับได้ค่ะ แฟนรับสารภาพ แฟนอายุยังไม่ถึง 20 ปี
ต้องโดนจำคุกกี่ปีค่ะ
มาปีนี้โดนครอบครอง3เมดขับเสพอีกจะโดนกี่ปีคะ
อีกฝากเดวคะ(ขอคำตอบด้วยคะ)
กรณีที่ หบหนีทหาร แล้ว ถูกจับคดี เสพ ไม่มีของกลางมีแต่เยี่ยว
ตำรวจส่งต่อศาล แล้วศาลทหารส่งเข้าเรือนจำทหาร ประมาณกี่วันศาลจะตัดสินค่ะ แล้วต้องจำอยู่เรือนจำนานไหมค่ะ
เเต่ผู้ต้องหาไม่ได้จำหน่าย ซื้อมาเพื่อเสพเอง เเต่ทำไมตำรวจถึงเขียนจำหน่าย โทษจะหนักมั้ยคะ
ศาลตัดสินปรัง25000รอลงอาญาแล้วผิดช้ำ
ศาลตัดสินจำ1ปี3เดือนอยากรุแนวทางการพ้นโทษ
มีมัยคับหรือมารายงานตัวศาลเหใทอนเดิม
พอดีผมโดนจับ ยาแก้ไอ 30 ขวด ใช้หลักทรัพย์ตัวเอง ประกันตัวออกมา จะมีโอกาสที่ศาลยกฟ้องไหมคับ แล้วถ้าติดจะกี่ปีคับ #ขอบคุณล่วงหน้าคับ)
โดนจับเยี่ยว ปี2564
แต่ ตำรวจไม่ทำเรื่อง ส่งฟ้องศาล
ไม่ได้ ชึ้นศาล ไม่ได้ บำบัด ไม่ได้ รายงานตัวอะไรเลย
แต่ จะไปทำใบขับขี่ สาธารณะ
ทำไม่ได้ เพราะตำรวจบอกว่ามีประวัติ
ทั้งๆ ที่ไม่เคยไปชึ้นศาล แต่มีประวัติ
ต้องทำยังไงครับ ถึงจะล้างประวัติได้
แร้วด้ายกับบ้านเรยป่าวค่ะ
แต่ ณ เวลานี้ถูกฝากขังไว้ที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง เยี่ยมก็ไม่ได้ ติดต่อก็ไม่ได้เลยไม่ทราบสักนิดเรยว่า "ศาล ว่ายังไงบ้างสำนวนเขาระบุอะไร อย่างไร และแบบไหน
แต่ทางตำรวจชุดที่จับกุม เขาบอกว่าถ้าประกันตัวที่ศาล ก็ไม่น่าถึง 10,000บ. อาจจะประมาณ 7,000 - 8,000 บ. หรือถ้าติด ก็อาจจะต้องติด 35 วัน แตกต่างจากเดิมที่ต้องติด 45 , 48 , 50 วัน อย่างนี้หนูต้องทำไง ถึงจะรู้ว่าแฟนได้รับโทษอะไรและต้องติดนานแค่ไหนหรอคะ
ในกรณีที่เคยต้องโทษคดียาเสพติดแล้ว และได้มีการถูกต้องโทษและคุมขัง จากนั้นไม่มีการถูกสั่งฟ้อง
และไม่ทราบถึงว่ามีหมายศาลมาเนื่องจากย้ายที่อยู่
ได้กลับมาดำเนินชีวิตปกติ หลังจากนั้นเวลาผ่านไปหลายปี มีเจ้าหน้าที่มาเชิญตัวพร้อมหมายศาลเพื่อจับกุม และถูกขังที่สถานีตำรวจ
กรณีนี้จะถูกจำคุกอีกหรือไม่ เนื่องจากไม่ทราบถึงหมายศาลที่ศาลเรียกไปพบตัวเนื่องจากได้ย้ายที่อยู่จากที่เดิมที่เคยอยู่