ทำอย่างไร??? เมื่อถูกฟ้องคดีแพ่ง

โดย: ทีมงานทนายThanulegal [IP: 110.169.223.xxx]
เมื่อ: 2018-06-28 19:33:11
เมื่อได้รับหมายเรียก ในฐานะของจำเลย มีข้อควรปฏิบัติดังนี้

1 ยื่นคำให้การ ตามประเภทของคดี

1.1 คดีแพ่งสามัญ จำเลยต้องยื่นคำให้การ

- ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหมายด้วยตนเอง มีผู้รับแทน หรือทางไปรษณีย์

- ภายใน 30 วันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ศาลมาปิดหมายไว้หน้าบ้าน ที่ทำงาน หรือประกาศหนังสือพิมพ์

1.2 คดีมโนสาเร่ หรือคดีไม่มีข้อยุ่งยาก จำเลยสามารถให้การด้วยวาจา หรือหนังสือ ในวันนัดไกล่เกลี่ย ให้การ หรือสืบพยานได้



ผลเสียการไม่ยื่นคำให้การ : ไม่มีสิทธินำพยานมาสืบหักล้างกับคำฟ้องโจทก์ มีสิทธิเพียงถามค้าน



ทางแก้ หากยื่นคำให้การไม่ทัน : ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การได้ ก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นคำให้การ โดยต้องระบุเหตุสุดวิสัย ที่ไม่สามารถยื่นคำให้การได้ การอนุญาตเป็นดุลพินิจของศาล



ทางแก้ หากขาดนัดยื่นคำให้การ

- กรณี จำเลยมาศาลก่อนศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดี

ให้แจ้งต่อศาลว่าตนประสงค์จะต่อสู้คดี และขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตยื่นคำให้การ หากศาลเห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การหรือมีเหตุอันควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาต โดยสามารถแจ้งด้วยวาจา เป็นหนังสือ หรือมอบอำนาจก็ได้

- กรณี จำเลยมาศาลภายหลังจากศาลตัดสินคดีแล้ว

จำเลยมีสิทธิขอพิจารณาคดีใหม่ ภายในกำหนดเวลา ดังนี้

1 กรณีปกติ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับส่งคำบังคับตามคำพิพากษา

2 กรณีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่พฤติการณ์สิ้นสุดลง

3 อย่างไรก็ตาม ห้ามยื่นคำขอต่อศาลเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ยึดทรัพย์ หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษา หรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ยังไม่สิ้นสุดลง



การบังคับคดี

เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จะถูกยึดทรัพย์ อายัดทรัพย์ ถูกจับ หรือจำขัง แล้วแต่กรณี

โจทก์มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 193,669