ขออนุญาตเป็นผู้จัดการสินสมรสผู้เดียว หรือแยกสินสมรส
คดีขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่เพียงผู้เดียวหรือขอให้แยกสินสมรส
โดยปกติแล้ว สามีภริยาจะมีอำนาจร่วมกันจัดการสินสมรส ตาม ป.พ.พ. ม.1476 ยกเว้นได้มีการตกลงมาก่อนแล้วในสัญญาก่อนสมรสตาม ป.พ.พ. ม.1476/1
หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการสินสมรสในทางที่ไม่เหมาะสม ก่อให้เกิดความเสียหาย อีกฝ่ายสามารถร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือจะขอแยกสินสมรส ก็ได้
เหตุผล 5 ประการในการขอจัดการแต่เพียงผู้เดียว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1484
(1) สามีหรือภริยาจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด - เช่น ทุบทำลายบ้านที่เคยปล่อยเช่า ทำให้ขาดรายได้
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง - ไม่เกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส - ทำหนี้สินมากกว่าสินทรัพย์ (เข้าข่ายล้มละลาย)
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร - เช่น บ้านที่เคยปล่อยชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ขัดขวางไม่ให้ช่างมาซ่อมแซม
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส - ติดการพนัน เอาเงินไปให้เมียน้อย
เหตุผล 3 กรณีในการขอแยกสินสมรส
1. สามีหรือภริยาถูกศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรสเมื่อมีการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด ตาม ม.1484 วรรค2
2. ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม ม.1491
3. ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ โดยผู้อนุบาลเป็นบุคคลภายนอก ตาม ม.1598/17 ว.2
เอกสารประกอบยื่นคำฟ้อง
1. ใบสำคัญการสมรส
2. บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน Passport
3. สูติบัตร
4. รายการสินสมรส เช่น โฉนดที่ดิน ทะเบียนรายการรถยนต์ สมุดเงินฝากบัญชีธนาคาร
เขตอำนาจศาล : ศาลเยาวชนและครอบครัวที่อยู่กินกัน
ค่าขึ้นศาล : -
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2548
การที่จำเลยกับโจทก์สมัครใจแยกกันอยู่ แต่มิได้จดทะเบียนหย่ากัน จำเลยกับโจทก์ก็ยังคงมีฐานะเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาในระหว่างสมรสย่อมเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 1474 (1) ดังนั้น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินค่าตอนแทนพิเศษเนื่องจากการลาออก เงินค่าหุ้นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ และเงินโบนัส ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้มาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิในจำนวนเงินพิพาทร่วมกับจำเลย
การจัดการสินสมรสนอกเหนือจากกรณีตามมาตรา 1476 วรรคหนึ่ง จำเลยหรือโจทก์ย่อมมีอำนาจจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง แต่การจัดการสินสมรสจะต้องจัดการด้วยความระมัดระวังไม่ให้เป็นที่เสียหายและต้องไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความเสียหายแก่สินสมรสตามมาตรา 1476 วรรคสอง และมาตรา 1484 (1) ถึง (5) เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายจัดการสินสมรส แต่การที่จำเลยมอบอำนาจให้สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ รับเงินต่าง ๆ ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งค่าหุ้นของจำเลยในสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ไปชำระหนี้จำนอง โดยโจทก์มิได้รู้เห็นหรือให้สัตยาบันในหนี้จำนองส่วนนี้ และเมื่อชำระหนี้จำนองของจำเลยบางส่วนแล้ว จำเลยยังได้รับเงิน 564,825 บาท ไปจากการไฟฟ้านครหลวงอีกด้วย ซึ่งจำเลยก็นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยโจทก์และบุตรมิได้รับการช่วยเหลือหรือเลี้ยงดูจากจำเลยแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ขอแบ่งสินสมรสที่คงเหลือกึ่งหนึ่ง จำเลยไม่ยินยอมและอ้างว่าเงินดังกล่าวไม่ใช่สินสมรส พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด และทำความเสียหายให้แก่สินสมรส รวมทั้งไม่นำเงินสินสมรสนั้นมาอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ด้วย โจทก์จึงมีเหตุสมควรขอให้แยกสินสมรสได้ตามมาตรา 1484 (1) (2) (5)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(2) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี
(4) ให้กู้ยืมเงิน
(5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(6) ประนีประนอมยอมความ
(7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
มาตรา 1484 ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
(1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
(2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
(3) มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
(4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือสั่งให้แยกสินสมรสได้
ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรสได้ตามที่เห็นสมควร และหากเป็นกรณีฉุกเฉินให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตามมาตรา 1484 วรรคสอง มาตรา 1491 หรือมาตรา 1598/17 วรรคสอง แล้ว ให้ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่ฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้มาโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือตามมาตรา 1474 (2) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัวของสามีและภริยาฝ่ายละครึ่ง
ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้วให้เป็นสินส่วนตัว
มาตรา 1492/1 ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาล การยกเลิกการแยกสินสมรสให้กระทำได้เมื่อสามีหรือภริยาร้องขอต่อศาล และศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าภริยาหรือสามีคัดค้านศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว
เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรสสิ้นสุดลงเพราะสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งหรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม
ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ
1. -
ค่าบริการ คดีขอจัดการสินสมรส แยกสินสมรส |
|
รูปแบบคดี |
ราคา(เริ่มต้น) |
♦ ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดี |
-X- |
♦ ทำบันทึกข้อตกลงแยกสินสมรส |
-X- |
รับว่าความทั่วประเทศ
ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย
ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098
LINE ID : @tn13
เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.
ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments