วางทรัพย์

ข้อกฎหมาย #ทนายบังคับคดีThanuLaw

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 331 ถ้าเจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้ก็ดี หรือไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ก็ดี หากบุคคลผู้ชำระหนี้วางทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้แล้ว ก็ย่อมจะเป็นอันหลุดพ้นจากหนี้ได้ ความข้อนี้ท่านให้ใช้ตลอดถึงกรณีที่บุคคลผู้ชำระหนี้ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิ หรือไม่รู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่เป็นความผิดของตน

มาตรา 332 ถ้าลูกหนี้จำต้องชำระหนี้ต่อเมื่อเจ้าหนี้จะต้องชำระหนี้ตอบแทนด้วยไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะกำหนดว่าต่อเมื่อเจ้าหนี้ชำระหนี้ตอบแทนจึงให้มีสิทธิรับเอาทรัพย์ที่วางไว้นั้นก็ได้

มาตรา 333 การวางทรัพย์นั้นต้องวาง ณ สำนักงานวางทรัพย์ประจำตำบลที่จะต้องชำระหนี้

   ถ้าไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมาย หรือกฎข้อบังคับเฉพาะการในเรื่องสำนักงานวางทรัพย์ เมื่อบุคคลผู้ชำระหนี้ร้องขอ ศาลจะต้องกำหนดสำนักงานวางทรัพย์ และตั้งแต่งผู้พิทักษ์ทรัพย์ที่วางนั้นขึ้น

   ผู้วางต้องบอกกล่าวให้เจ้าหนี้ทราบการที่ได้วางทรัพย์นั้นโดยพลัน

มาตรา 334 ลูกหนี้มีสิทธิจะถอนทรัพย์ที่วางนั้นได้ ถ้าลูกหนี้ถอนทรัพย์นั้น ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้วางทรัพย์ไว้เลย

   สิทธิถอนทรัพย์นี้เป็นอันขาดในกรณีต่อไปนี้

   (1) ถ้าลูกหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าตนยอมละสิทธิที่จะถอน

   (2) ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อสำนักงานวางทรัพย์ว่าจะรับเอาทรัพย์นั้น

   (3) ถ้าการวางทรัพย์นั้นได้เป็นไปโดยคำสั่งหรืออนุมัติของศาลและได้บอกกล่าวความนั้นแก่สำนักงานวางทรัพย์

 

การวางทรัพย์ คือ วิธีการชำระหนี้ที่กฎหมายกำหนด โดยผู้วางทรัพย์นำเงินหรือทรัพย์ไปวาง ณ สำนักงานบังคับคดี ที่ทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้

 

ผลของการวางทรัพย์ : ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระ ไม่เป็นเป็นผู้ผิดนัด

 

ผู้มีสิทธิ์วางทรัพย์

1. ลูกหนี้

2. ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้

3. บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้

 

ระยะเวลามารับทรัพย์ : เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปีนับจากวันที่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์

 

ทรัพย์ที่วางได้

1. เงินสด

2. แคชเชียร์เช็ค

3. ทรัพย์ที่เป็นวัตถุ ที่สามารถส่งมอบได้ตามกฎหมาย

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมายฟรี

ทนายธนู Tel. 083-4248098

เปิดบริการจันทร์ - ศุกร์ 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 162,907