ผิดสัญญาบันทึกท้ายทะเบียนหย่า

คดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู จากบันทึกท้ายทะเบียนหย่า #ทนายคดีผิดสัญญาบันทึกท้ายการหย่าThanuLaw

   กรณีสามีภริยาจดทะเบียนหย่า และทำบันทึกท้ายทะเบียนการหย่า ตกลงกันในเรื่องการชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่ารักษาพยาบาล ให้แก่บุตร

   หากต่อมาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญา ไม่ชำระตามที่ตกลงกันไว้ บิดาหรือมารดาอีกฝ่ายหนึ่ง ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร มีสิทธิฟ้องเรียกให้อีกฝ่ายจ่ายเงินดังกล่าวที่ค้างชำระตามสัญญาและที่จะต้องจ่ายต่อไปในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญา

 

เอกสารประกอบการยื่นฟ้อง

1. ใบสำคัญการหย่า พร้อมบันทึกท้ายทะเบียนหย่า

2. ตารางสรุปค่าอุปการะเลี้ยงดู ที่ค้างชำระ

3. ใบเสร็จรับเงิน ค่าเทอม / ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ

4. แบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร พ่อ แม่ ลูก

5. สูติบัตรของลูก

6. ใบเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล (ถ้ามี)

 

ค่าขึ้นศาล : คดีละ 200 บาท

 

เขตอำนาจศาล : ศาลเยาวชนและครอบครัว ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ตามทะเบียนบ้าน หรือสำนักงานทะเบียนที่จดทะเบียนหย่า

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : แม้บันทึกแนบท้ายทะเบียนหย่า ไม่ได้ตกลงการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิเรียกจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544

   บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่งส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งนั้น มีความหมายเพียงว่าในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด หากมิได้กำหนดศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง เมื่อข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่า ไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใด ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ และหลังจดทะเบียนหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงเรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537จนถึงวันฟ้องได้

 

ประเด็น : ชำระเงินไปแล้ว เรียกย้อนหลังได้เพียงแค่ 5 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2697/2548

   บทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 เป็นการกำหนดให้สิทธิแก่บิดามารดากับบุตรสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างกันได้เท่านั้น ส่วนการดำเนินการร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงดูมีบทบัญญัติมาตรา 1565 ซึ่งกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้ยกคดีขึ้นว่ากล่าวแล้วยังกำหนดให้บิดาหรือมารดาสามารถนำคดีขึ้นว่ากล่าวได้เองด้วย และบทบัญญัติมาตรา 1564 วรรคหนึ่ง กำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ซึ่งในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันนั้นย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่าๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นตามมาตรา 296 โจทก์จำเลยได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาโดยตกลงให้บุตรอยู่ในความปกครองของโจทก์ แต่มิได้ตกลงว่าโจทก์ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูฝ่ายเดียว เมื่อโจทก์ได้ออกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ฝ่ายเดียวจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ที่ได้ออกไปก่อนนับแต่วันหย่าจนกระทั่งบุตรบรรลุนิติภาวะจากจำเลย เพื่อแบ่งส่วนความรับผิดในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม และเข้าใช้หนี้นั้นตามมาตรา 229 (3) แม้ขณะยื่นฟ้องนั้นบุตรจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรสมควรจะเป็นจำนวนเท่าใด ศาลมีอำนาจกำหนดตามมาตรา 1522

   การฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์มีอายุความ 5 ปีนับแต่วันที่บิดามารดาหรือบิดามารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู ในกรณีที่บิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูไปฝ่ายเดียว ก็มีสิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่ายนับแต่วันที่ตนได้ชำระไปซึ่งถือว่าเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามมาตรา 193/33 (4) ประกอบมาตรา 193/12

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามีภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด

   ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ ให้ศาลเป็นผู้กำหนด

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายธนู

1. -

 

ค่าบริการว่าความ คดีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ตามบันทึกท้ายทะเบียนหย่า

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

 ♦ ยื่นฟ้อง / ต่อสู้คดี

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

 

 


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 194,107