มรดกกับพระสงฆ์

มรดกของพระภิกษุ

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1622 พระภิกษุนั้น จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้ เว้นแต่จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตามมาตรา 1754

   แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้

มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม

มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้นหรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

 

พระสงฆ์หรือพระภิกษุ หมายถึง พระในพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นไม่รวมถึง

มรดกจะถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง

1. ก่อนบวช – เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1624

2. ในระหว่างบวช – เป็นมรดกของวัดที่เป็นภูมิลำเนา เว้นแต่จะได้ใช้ไปตอนมีชีวิตอยู่หรือโดยพินัยกรรม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623

 

เอกสารประกอบการตั้งผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ

1. ใบจัดตั้งวัด (วิสุงคามสีมา ระบุชื่อเจ้าอาวาส)

2. ใบสุทธิ หรือหนังสือรับรองการจำวัด

3. มรณบัตร

4. Passport พร้อมแปลภาษาไทย

5. พินัยกรรม พร้อมแปลภาษาไทย

6. บัญชีธนาคาร

7. รายชื่อทายาท (พร้อมหลักฐานเช่น Passport บัตรประชาชน ทะเบียน มรณบัตร)

 

ส่วนผู้ร้อง

8. บัตรประจำตัวประชาชนผู้ร้อง

9. บัญชีทรัพย์มรดก (ทายาทจัดทำให้)

10. บัญชีเครือญาติ (ทายาทจัดทำให้)

11. หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดก จากทายาท พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน

 

ตัวอย่าง คำพิพากษา ที่น่าสนใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2542

   ที่ดินพิพาทพระภิกษุ ส. ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศและเป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุ ส. ในขณะถึงแก่มรณภาพ จึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 แต่วัดมิใช่ทายาทโดยธรรมของพระภิกษุที่ ถึงแก่มรณภาพ ตามมาตรา 1629 ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ร้องขอให้ศาลตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ส. จึงมิใช่กรณีทายาทร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อจัดแบ่งมรดกให้ทายาท การที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทในฐานะผู้จัดการมรดก จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทไว้แทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยผลแห่งกฎหมาย แม้ก่อนถึงแก่มรณภาพพระภิกษุ ส. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยร่วม และจำเลยร่วมได้ผ่อนชำระค่าที่ดินครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อพระภิกษุ ส. ถึงแก่มรณภาพ ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติของจำเลยที่ 1 โดยเป็นที่ธรณีสงฆ์ซึ่งจะโอนกรรมสิทธิ์ ได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 33(2) และมาตรา 34 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกพระภิกษุ ส. จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทให้จำเลยร่วม แม้โดยความเห็นชอบของจำเลยที่ 1 จึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 หากจำเลยที่ 2 ได้นำที่พิพาทไปทำสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็ไม่มีอำนาจ ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้โจทก์

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2539

   กฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 18 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2536 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ระบุว่า "ไวยาวัจกร" หมายถึง คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งและจะมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ ไวยาวัจกร ผู้ได้รับแต่งตั้งก่อนวันใช้กฎมหาเถรสมาคมนี้ให้ถือว่าเป็นไวยาวัจกรตามกฎมหาเถรสมาคมต่อไป เมื่อนาย ป. ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านให้เป็นไวยาวัจกร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 โดยอาศัยอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 8 จึงถือว่าเป็นไวยาวัจกรอยู่ย่อมมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดได้ตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ แม้ตามคำร้องคัดค้านระบุยืนยันว่านาย ป. มีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านโดยมิได้แนบหนังสือมอบหมายของเจ้าอาวาสก็ตาม แต่ก่อนสืบพยานผู้คัดค้านก็ได้แถลงขอส่งหนังสือมอบอำนาจ ลงวันที่ก่อนวันยื่นคำร้องคัดค้านซึ่งมีเจ้าอาวาสวัดผู้คัดค้านลงนามและในชั้นสืบพยานเจ้าอาวาสก็มาเบิกความยืนยันรับรองหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าเจ้าอาวาสได้มอบหมายเป็นหนังสือให้นาย ป. ไวยาวัจกรมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้คัดค้านก่อนยื่นคำร้องคดีนี้ ที่ดินเป็นมรดกของพระครู ส. ตกได้แก่ผู้คัดค้านจึงเป็นทรัพย์สินของผู้คัดค้านการดำเนินคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของวัดเป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่ง นาย ป. ย่อมมีอำนาจจัดการ จึงมีสิทธิแต่งตั้งทนายความเพื่อดำเนินคดีนี้ได้คำร้องที่ทนายความซึ่งนาย ป. แต่งตั้งและได้ยื่นต่อศาลจึงสมบูรณ์

 

*** รวมคำถามตอบ ที่พบบ่อยในคดีมรดกของพระสงฆ์ By Thanu Law

ถาม พระสงฆ์มีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม ไหม

ตอบ - เป็น แต่กฎหมายห้ามมิให้พระสงฆ์เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก แม้ว่าจะมีสิทธิรับมรดก

 

ถาม พระสงฆ์จะมีสิทธิได้รับมรดกอย่างไร

ตอบ - มี 3 วิธี คือ 1. สึกออกมาจากสมณเพศ 2. ญาตินำมาถวายให้ (ไม่ได้เรียกร้อง) 3. ในฐานะผู้รับพินัยกรรม (กฎหมายห้ามเฉพาะในฐานะทายาทโดยธรรม)

 

ถาม พระภิกษุ จะขอตั้งเป็นผู้จัดการมรดก ได้หรือไม่

ตอบ - ทำได้ ไม่มีฎหมายห้ามไว้

 

ถาม ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างบวช จะถือเป็นของวัดเมื่อพระภิกษุมรณภาพลงทั้งหมดเลยหรือไม่

ตอบ - เป็นของวัดทั้งหมด ยกเว้นจะได้ทำพินัยกรรม ตัวอย่าง ทรัพย์สินที่ได้มาจากการแบ่งมรดกจากทายาทโดยธรรม เป็นผู้รับพินัยกรรม หรือจากการถวายทรัพย์ การบริจาคเงินจากญาติโยมทุกช่องทาง

 

ถาม สำนักสงฆ์ ถือเป็นภูมิลำเนาของพระได้ไหม

ตอบ ไม่ได้ เพราะไม่ถือว่าเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ไม่มีฐานะตามพ.ร.บ.ลักษณะปกครองคณะสงฆ์

 

ถาม เมื่อพระสงฆ์มรณภาพ ใครจะเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาล

ตอบ - วัด หรือผู้รับพินัยกรรม 

 

ค่าบริการว่าความ คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกพระสงฆ์

รูปแบบคดี

    ราคา    

♦ ขอตั้งผู้จัดการมรดกพระสงฆ์

   มี / ไม่มี พินัยกรรม 

-X-

♦ ทายาทให้ความยินยอม / คัดค้าน

-X-

♦ ผู้จัดการมรดกพระสงฆ์ชาวต่างชาติ

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกพระสงฆ์ คัดค้าน ถอดถอน ลาออกออกจากผู้จัดการมรดก พระสงฆ์ชาวต่างชาติ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ทนายธนู Tel. 083 4248098

ทนายพิมพ์ Tel. 081 6653914

LINE ID : @tn13

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 286,602