ตั๋วเงิน
คดีตั๋วเงิน (เช็คคดีแพ่ง)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรา 900 บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็น ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่
อายุความในการฟ้องร้องคดีแพ่ง ดังนี้
1. ฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ผู้ออกสัญญาใช้เงิน มีกำหนด 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนด ป.พ.พ. มาตรา 1001
2. ฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย มีกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนด ป.พ.พ. มาตรา 1002
3. ฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และฟ้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย มีกำหนด 6 เดือน ป.พ.พ. มาตรา 1003
ธนาคารต้องใช้เงินตามเช็ค ซึ่งผู้เคยค้ากับธนาคาร(แบงค์อื่น)ได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่
1. ไม่มีเงินในบัญชีพอจะจ่ายเงินตามเช็ดนั้น
2. ยื่นเช็คให้เงินเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันออกเช็ค
3. มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายหรือถูกลักไป
เอกสารประกอบการยื่นคำร้อง
1. เช็ค
2. ชุดใบแจ้งผลการคืนสั่ง
3. บัตรประชาชน
4. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
เขตอำนาจศาล : สถานที่ปฏิเสธการสั่งจ่ายเช็คหรือภูมิลำเนาจำเลย
ค่าขึ้นศาล : 2% ของยอดหนี้
ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ
ประเด็น : เช็คบริษัท แต่กรรมการผู้จัดการลงชื่อ โดยไม่ได้ระบุว่าทำในนามบริษัท ต้องร่วมรับผิดชอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2560
แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินการใดๆ ย่อมต้องทำผ่านทางผู้แทนคือ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทน และการสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับของจำเลยที่ 2 ถือเป็นการกระทำตามหน้าที่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ขณะออกเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 2 มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 โดยลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับ โดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่สืบเนื่องมาจากหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นไปตามเงื่อนไขระหว่างจำเลยที่ 1 เจ้าของเช็ค กับธนาคารตามเช็ค ซึ่งไม่เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 และตราสารจัดตั้งที่ได้จดทะเบียนไว้ ประกอบกับในเรื่องตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คต้องรับผิด ตามเนื้อความในเช็ค และมาตรา 901 บัญญัติให้บุคคลผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คปฏิเสธความรับผิดตามเนื้อความในเช็คได้ก็ต่อเมื่อกระทำแทนบุคคลอื่นและเขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่นเท่านั้น ดังนั้น การที่เช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย โดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 และไม่ได้เขียนข้อความให้เห็นว่ากระทำแทนจำเลยที่ 1 เช่นนี้ ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 กระทำในนามส่วนตัวด้วย และต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดตามเนื้อความในเช็คชำระเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย
ประเด็น : ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยให้เหตุผลว่า พ้นกำหนดเป็นเวลา 6 เดือนนับแต่วันออกเช็ค โจทก์หาเสียสิทธิที่จะเรียกเงินจากผู้สั่งจ่ายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2528
หนี้พิพาทเป็นหนี้เงินตามเช็คพิพาทซึ่งมีกำหนดเวลาชำระหนี้แน่นอนและเช็คเป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่งซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 959ประกอบกับมาตรา 989 บัญญัติให้ผู้ทรงตั๋วเงินมีสิทธิไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนด กฎหมายมิได้กำหนดให้ผู้ทรงตั๋วเงินบอกกล่าวแก่ผู้สั่งจ่ายเสียก่อนจึงจะไล่เบี้ยได้ โจทก์จึงฟ้องจำเลยได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวก่อน
การที่โจทก์ผู้ทรงมิได้นำเช็คพิพาทไปยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายในเวลา6 เดือน นับแต่วันออกเช็คหรือวันสั่งจ่ายและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คด้วยเหตุดังกล่าว โจทก์หาเสียสิทธิที่จะเรียกเงินตามเช็คพิพาทจากจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายไม่
ประเด็น : เช็คค้ำประกัน ไม่มีความผิดทางอาญา แต่ยังต้องรับผิดทางแพ่งอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 452/2552
การออกเช็คเพื่อประกันค่าสินค้าที่ลูกค้าหรือสมาชิกสั่งซื้อสินค้าผ่านจำเลยนั้นเพื่อเป็นประกันว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าที่ส่งให้แก่ลูกค้าหรือสมาชิก หากลูกค้าหรือสมาชิกไม่ชำระโจทก์ก็ยังได้รับเงินค่าสินค้าตามเช็คดังกล่าว ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระหนี้ค่าสินค้า จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คนั้น แม้คดีในส่วนอาญา จำเลยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ก็เป็นเพราะเช็คที่จำเลยออกมิใช่เป็นเช็คเพื่อชำระหนี้อันเป็นองค์ประกอบของความผิดทางอาญา ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับชำระหนี้ค่าสินค้าจากลูกค้าหรือสมาชิก จำเลยก็ยังคงต้องรับผิดชอบชำระหนี้ค่าสินค้าตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นประกันการชำระหนี้ดังกล่าวต่อผู้ทรงเช็ค
ประเด็น : ฟ้องคดีตั๋วเงิน จากหนี้กู้ยืม ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2566
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็ค จำเลยรับว่าได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ในเบื้องต้นถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง จำเลยปฏิเสธความรับผิดอ้างว่า จำเลยไม่ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไม่ได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม และโจทก์รับโอนเช็คพิพาททั้งห้าไว้โดยคบคิดกันฉ้อฉลเพื่อที่จะไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท ภาระการพิสูจน์ตกแก่จำเลย
จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์และออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมให้แก่โจทก์ แม้การกู้ยืมหรือการตั้งตัวแทนกู้ยืม ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็ค มิใช่ฟ้องรับผิดตามสัญญากู้ยืม เช่นนี้ โจทก์ไม่จำต้องมีหลักฐานการกู้ยืมหรือการตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ จำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
ค่าบริการว่าความ คดีเช็คเด้ง |
|
รูปแบบคดี |
ราคา (เริ่มต้น) |
♦ ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดี |
-X- |
รับว่าความทั่วประเทศ
ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย
ทนายธนู Tel. 083 4248098
LINE ID : @tn13
เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.
ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน


- ความคิดเห็น
- Facebook Comments