โนตารี ปับลิก คืออะไร

โนตารี ปับลิก Notary Public คือ บุคคลผู้มีอำนาจรับรองเอกสาร สัญญา นิติกรรมต่างๆ เพื่อนำไปบังคับใช้ได้ตามกฎหมายในต่างประเทศ โดยโนตารีปับลิก นั้น ต้องมีการขึ้นทะเบียนไว้ ตามกฎหมายหรือระเบียบของรัฐนั้นๆ โดยการยอมรับเอกสาร จะต้องได้รับการยอมรับจากรัฐบาลและหน่วยงานราชการ ด้วย

 

บริการรับรองเอกสารโนตารีโดยสำนักงานกฎหมายธนู คลิกที่นี่

 

คุณสมบัติของโนตารีปับลิก

1. แตกต่างกันไปตามระเบียบของรัฐนั้น ๆ โดยส่วนใหญ่จะมีการจัดตั้งสภาวิชาชีพโนตารี ไว้กำกับดูแล

2. ด้านอื่น ๆ เช่น ความรู้และเชี่ยวชาญในด้านกฎหมาย ด้านเอกสาร หรือด้านภาษา เป็นต้น

 

ประโยชน์ของโนตารีปับลิก

1. ทำให้เอกสารได้รับความน่าเชื่อถือ

2. ย่นระยะเวลาในการเดินทางระหว่างประเทศ มีความรวดเร็ว และถูกต้อง

 

อำนาจและหน้าที่ของโนตารีปับลิก

1. จัดทำ และ รับรองความถูกต้องของเอกสาร ทำนิติกรรมสัญญา รับรองข้อเท็จจริง ตัวบุคคล และเป็นพยานในคำให้การ หรือการสาบาน ฯลฯ

 

มาตราฐานการรับรองเอกสารสากล : เป็นไปตาม Apostille Certificate by The 1961 Hague Convention หรือ อะ พอสตัล ตามอนุสัญญากรุงเฮก ค.ศ.1961

 

โนตารีปับลิก ในมิติของประเทศไทย

   ก่อนอื่นต้องบอกว่า “ไม่มีโนตารีปับลิกในประเทศไทย” แต่...ผู้ที่สามารถทำหน้าที่ได้คล้ายกัน ก็คือ NOTARIAL SERVICES ATTORNEY หรือที่เรียกว่า ทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

   โดยทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร จะต้องเป็นทนายความที่ผ่านการอบรม และได้รับใบอนุญาตในการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ตามข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ.2551

   นั่นหมายความว่า สภาทนายความของไทย มีการจัดตั้งสำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสารขึ้น เพื่อกำกับดูแลและจัดอบรมทนายความให้ทำหน้าที่คล้ายโนตารีปับลิก และยังได้ขึ้นทะเบียนทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ไว้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบอีกด้วย โดยสภาทนายความ จะแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้กรมการกงศุล กระทรวงต่างประเทศ

   และปรากฎคำว่าเจ้าพนักงานโนตารีปับลิกหรือแมยิสเตร็ด อยู่ในกฎหมายไทย ตาม ป.วิ.แพ่ง มาตรา 47

   ดังนั้น ทุกครั้งที่ลูกความเข้ามารับบริการโนตารีปับลิก ทนายจึงต้องแจ้งลูกความ เพื่อแจ้งต่อไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศ ให้ชัดเจนก่อนว่า “ไม่มีโนตารีปับลิกในประเทศไทย” มีเพียงทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร เท่านั้น

   โดยทั่วไป หากเป็นการทำนิติกรรมภาคเอกชน เช่น การรับรองลายมือชื่อในเอกสาร การปิด/เปิดบัญชีธนาคาร มักจะยอมรับเอกสารของทนายความฯ แทนโนตารีปับลิกได้

   ส่วนการนำเอกสารไปใช้ทางราชการในต่างประเทศ นั้น ขอแนะนำว่า หลังจากที่เอกสารนั้นได้รับการรับรองโดยทนายความ ฯ แล้ว ควรนำไปรับรอง ณ กองนิติกรณ์ กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ และสถานทูตของประเทศนั้น ๆ อีกที เพื่อความน่าเชื่อถือ และสามารถนำไปบังคับใช้ตามกฎหมายต่างประเทศได้จริง

 

จรรยาบรรณ โนตารีปับลิกไทย หรือทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

1. ต้องมีความซื่อสัตย์ Integrity

2. ต้องมีความรับผิดชอบ Responsibility

3. ต้องปฏิบัติตามอาชีวปฏิญาณ Profession

4. ต้องให้บริการด้วยความสามารถเต็มที่และมีคุณภาพ Competence and Quality

5. ต้องเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของลูกความพร้อมทั้งส่งคืนลูกความให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าว

6. ต้องรักษาความลับของลูกความ Confidential Information

7. ต้องเรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่เป็นธรรม โดยแจ้งรายละเอียดค่าบริการให้ลูกความทราบล่วงหน้าอย่างชัดแจ้ง

8. ห้ามมีนายหน้า หรือส่วนแบ่ง หรือส่วนลดให้แก่นายหน้าที่หางานให้แก่สำนักงาน

9. ต้องไม่ปล่อยให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตทนายความเป็นผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารที่ตนต้องรับผิดชอบ

10. ต้องเก็บรักษาดวงตราสำคัญไว้ มิให้ผู้อื่นนำไปใช้

11. ต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจเป็นปัญหาว่าจะเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ

12. ต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่พ้นหน้าที่จากการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรอง ฯ

13. ต้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ในขณะที่ใบอนุญาตขาดต่ออายุ

14. ต้องไม่ลงนามรับรอง ๆ ในเอกสารเปล่า

15. ต้องไม่รับรองสำเนาเอกสาร โดยมิได้เห็นต้นฉบับที่แท้จริง

16. ต้องไม่รับรองลายมือชื่อบุคคล หรือรับรองบุคคลโดยที่บุคคลดังกล่าวไม่ลงลายชื่อต่อหน้า และไม่ได้ตรวจสอบการแสดงตน หรือไม่เคยรู้จักบุคคลดังกล่าว

17. ต้องไม่รับรองข้อความหรือเอกสารหรือบุคคลอันเป็นเท็จ

18. ต้องไม่รับรองข้อความหรือเอกสารที่ตนไม่รู้เห็นหรือไม่ได้ตรวจสอบ

19. ต้องไม่รับรองข้อความหรือเอกสารหรือบุคคลในส่วนที่มีส่วนได้เสียกับผู้ทำคำรับรอง

20. ต้องไม่เรียกค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนสูงกว่าที่มีกฎหมายกำหนด

21. ต้องใช้ดวงตราประทับของสภาทนายความ

22. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนคำรับรอง โดยอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้

  22.1. วันที่รับเอกสาร

  22.2. ชื่อและที่อยู่ของผู้อื่นขอให้ทำคำรับรอง

  22.3. ชื่อเจ้าของเอกสาร

  22.4. ชื่อและ/หรือประเภทของเอกสาร

  22.5. วันเดือนปี ที่ทำคำรับรอง

  ***ต้องรับรักษาสมุดทะเบียนคำรับรองเพื่อให้ตรวจสอบได้ เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากรายการรับรองครั้งสุดท้าย

ที่มา คู่มือทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร โดย สำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร สภาทนายความ

 

Open daily 7.00 - 18.00

Contact Us Please Click on Icon

   

 


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 193,948