การคัดค้านของมารดาหรือบุตร

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

มาตรา 1549 เมื่อนายทะเบียนได้แจ้งการขอจดทะเบียนขอรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายไปยังเด็กและมารดาเด็ก ตามมาตรา 1548 แล้ว ไม่ว่าเด็กหรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรตามมาตรา 1548 หรือไม่ ภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 90 วันนับแต่วันแจ้งการขอจดทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งให้นายทะเบียนจดบันทึกไว้ได้ว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด

   เมื่อได้มีคำแจ้งของเด็กหรือมารดาเด็กดังกล่าวในวรรคหนึ่งแล้ว แม้จะได้มีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร ตามมาตรา 1548 บิดาของเด็กก็ยังใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งว่าบิดาไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นไม่ได้ จนกว่าศาลจะพิพากษาให้บิดาของเด็กใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด หรือกำหนดเวลา 90 วันนับแต่วันที่เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งต่อนายทะเบียนว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดนั้นได้ล่วงพ้นไป โดยเด็กหรือมารดาเด็กมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด

   ในคดีที่ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ศาลจะพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นให้ผู้ใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือเป็นผู้ปกครองเพื่อการปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดก็ได้

มาตรา 1551 ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรมิใช่บิดาของเด็ก เมื่อผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนำคดีไปสู่ศาลขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเป็นบิดาของเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นก็ได้ว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแม้จะเป็นบิดาของเด็ก ก็เป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ในกรณีเช่นว่านี้ให้นำความในวรรคสาม ของมาตรา 1549 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

อธิบาย

   การจดทะเบียนรับรองบุตร โดยปกติบิดาและมารดา จะใช้อำนาจปกครองบุตร ร่วมกัน 

   เว้นแต่มารดาหรือเด็ก จะใช้สิทธิแจ้งให้นายทะเบียนจดบันทึกว่า บิดาไม่สมควรใช้อำนาจปกครองด้วย เมื่อแจ้งแล้วบิดาก็ยังใช้อำนาจปกครองไม่ได้ จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา

   ทั้งนี้ มารดาหรือเด็ก จะต้องไปใช้สิทธิทางศาลโดยการยื่นคำร้องภายใน 90 วันนับแต่วันแจ้งนายทะเบียน หากไม่ไปถือว่าบันทึกดังกล่าว ตกไป

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2499

   ตามธรรมดาแล้วอำนาจปกครองอยู่แก่บิดา แต่เมื่อมีความเหมาะสม ศาลอาจสั่งให้อำนาจปกครองอยู่แก่มารดาได้


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 194,225