คดีภาษีอากร / Tax Case

คดีภาษีอากร #ทนายคดีภาษีThanuLaw

อยู่ในเขตอำนาจศาลภาษีอากรกลาง ซึงพิพาพาทกันในเรื่องภาษีอากร และค่าภาคหลวงทุกชนิด

 

เขตอำนาจศาล

กรณีที่การประเมินเกิดขึ้นในกรุงเทพ และปริมณฑล ยื่นฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลาง

ต่างจังหวัด สามารถยื่นฟ้องได้ที่ศาลจังหวัด ยังมิได้จัดตั้ง โดยศาลจะอำนวยความสะดวกให้ระหว่างศาลภาษีอากรกลางกับคู่ความ

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1826/2511

   จำเลยนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรตั้งแต่ปี 2507-2508 โดยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าและชำระภาษีการค้า ตามประกาศของอธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรี ถือว่าผู้ประกอบการค้าที่เป็นผู้นำเข้าซึ่งสินค้าทุกชนิดได้ขายสินค้านั้นในวันนำเข้าในราชอาณาจักร จำเลยย่อมมีรายรับตามมูลค่าของสินค้าในวันนำเข้าในราชอาณาจักร และมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าภาษีการค้าทุกเดือนภาษี ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป มูลหนี้ค่าภาษีการค้าจึงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนภาษีที่จำเลยผู้ประกอบการค้ามีรายรับ

   การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินในภายหลัง เนื่องจากจำเลยมิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แล้วมีหนังสือแจ้งยอดเงินภาษีไปให้จำเลยชำระเงินดังกล่าวไม่ทำให้มูลหนี้ค่าภาษีการค้าเพิ่งเกิด แม้หนังสือแจ้งยอดเงินภาษีที่ประเมินจะเพิ่งมีไปยังจำเลยภายหลังจากจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว กรมสรรพากรก็ยังมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีการค้า ซึ่งมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนได้

   เบี้ยปรับและเงินเพิ่มซึ่งผู้ประกอบการค้าต้องเสียตามประมวลรัษฎากรถือว่าเป็นเงินภาษีด้วย

   สิทธิเรียกร้องของรัฐบาลเพื่อเอาค่าภาษีอากรมีกำหนดอายุความ 10 ปี

   คำขอรับชำระหนี้ของกรมสรรพากรซึ่งระบุว่าขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากร (ภาษีการค้า) ถือได้ว่าขอรับชำระหนี้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ เพราะค่าภาษีอากรเป็นหนี้บุริมสิทธิสามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 253(3) อยู่แล้ว

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ส.2528

ข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2544

 

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

รับว่าความทั่วประเทศ

ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098

LINE ID : @kbv6958j

เปิดบริการทุกวัน 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai

 

#1 โดย: jantarasri onlee [IP: 223.206.221.xxx]
เมื่อ: 2023-01-24 09:59:00
รบกวนสอบถามค่ะกรณีคำร้อง ขอขยายระยะเวลาฟ้องคดีครั้งที่สองหรือครั้งต่อไป เราต้องเขียนแบบไหนค่ะ พอมีตัวอย่างไหมค่ะ พอดีเพิ่งเริ่มหัดทำเป็นคดีแรกค่ะ ขอบคุณค่ะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 231,121