ตัวอย่าง คำสั่งศาล รับรองบุตร บิดามารดาชาวต่างชาติ

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องขอรับรองบุตร กรณีชาวต่างชาติ

1. หนังสือเดินทาง PASSPORT พร้อมแปลภาษาไทย

2. บัตรประจำตัวประชาชน มารดา

3. ทะเบียนบ้าน มารดา และบุตร

4. สูติบัตรของบุตร

5. คำร้องขอจดทะเบียนและบันทึกทะเบียนครอบครัว คร.1 จากสำนักงานทะเบียน

6. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล มารดา และบุตร (ถ้ามี)

7. หนังสือให้ความยินยอมของมารดา (ถ้ามี)

8. ใบสำคัญการหย่าของมารดา (ถ้ามี)

9. ภาพถ่ายแสดงความสัมพันธ์ของบิดา มารดา และบุตร (ในรูปภาพควรมีญาติอยู่ด้วย)

10. ผลตรวจสารพันธุกรรมหรือ DNA ของโรงพยาบาลรัฐเท่านั้น (ถ้ามี)

12. VISA แสดงการเข้า-ออกราชอาณาจักรไทย

12. กฎหมายเกี่ยวกับรับรองบุตรของประเทศของบิดาหรือมารดาต่างชาติ กรณีโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องการขัดกันของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481

 

ขั้นตอนและระยะเวลา

1. เมื่อยื่นคำร้องต่อศาลแล้ว ศาลจะกำหนดวันนัดไต่สวนคำร้อง ประมาณ 1 เดือนครึ่ง - 2 เดือน โดยในระหว่างนี้ ภายในเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันยื่นคำร้อง บิดาต้องนำมารดาและบุตรไปให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ฯ เพื่อทำรายงานข้อเท็จจริงเสนอความเห็นต่อศาล ประกอบในการพิจารณา ตาม พ.ร.บ. ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 167

2. ในวันนัดไต่สวน บิดา มารดา และบุตร ต้องมาศาลพร้อมกัน โดยนำเอกสารตัวจริงแสดงต่อศาล เพื่อใช้ประกอบการเบิกความ

3. เมื่อพ้น 1 เดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาต บิดาต้องขอคัดถ่ายคำสั่งศาล และหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด เพื่อนำเอกสารไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร (คร.1) ต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ ใดก็ได้ โดยจะต้องมีพยาน 2 คน ตามขั้นตอนทางทะเบียน จึงที่ถือว่าสมบูรณ์

   แต่หากยังไม่ได้ไปจดทะเบียน จนกระทั่งบิดาถึงแก่ความตาย ถือไม่ได้ว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548

4. รวมระยะเวลาทั้งสิ้นประมาณ 3 - 4 เดือน


ค่าธรรมเนียมศาล

1. ค่าขึ้นศาล 200 บาท

2. ค่าประกาศผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ E-Notice ฟรี

3. ค่าปิดประกาศคำร้อง ณ ภูมิลำเนาผู้ร้อง อัตราตามระเบียบศาล

4. ค่าส่งสำเนาคำร้องให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย อัตราตามระเบียบศาล

 

เขตอำนาจศาล : ภูมิลำเนาผู้ร้อง หรือสถานที่บิดามารดาได้อยู่กินกัน

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. กรณีมารดาเด็กและเด็ก ไม่ให้ความยินยอม บิดาต้องขอศาลให้ส่งหมายนัดไต่สวนและสำเนาคำร้องให้มารดาเด็กทราบ เพื่อใช้สิทธิคัดค้านตามกฎหมาย

2. กรณีมารดาเสียชีวิตแล้ว ส่วนใหญ่ศาลมักจะมีคำสั่งให้บิดากับบุตรไปตรวจ DNA แล้วนำผลมาแสดงต่อศาลก่อนวันนัดไต่สวน

3. การให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่สถานพินิจฯ บิดามารดาต้องแสดงหลักฐานตัวจริงต่าง ๆ เช่นเดียวกับที่ต้องใช้ในชั้นศาล

4. กรณีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ไม่สามารถพูดและอ่านภาษาไทยได้ ต้องใช้ล่ามช่วยแปลภาษา สำหรับในการให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่สถานพินิจ ฯ และในชั้นศาล

5. หากต้องการให้คำพิพากษามีผลบังคับใช้ในประเทศของบิดาต่างชาติ ต้องแสดงข้อกฎหมายของประเทศนั้นๆต่อศาล

6. คดีฟ้องรับรองบุตร ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 20 ให้โจทก์ยื่นสำเนาคำพิพากษาพร้อมรับรอง ต่อนายทะเบียนเพื่อดำเนินการบันทึกในทะเบียนได้เลย

7. การจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 23 บิดาหรือมารดาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์อยู่(อายุไม่ถึง 20 ปี) จึงไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ก่อนยื่นคำร้องต่อศาล

8. ก่อนยื่นคำร้องรับรองบุตรต่อศาล ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอจดทะเบียน คร.1 ต่อนายทะเบียน ก่อนเสมอ

 

ค่าบริการว่าความ คดีรับรองบุตรชาวต่างชาติ

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

 ♦ บิดา/มารดา ชาวต่างชาติ ยื่นคำร้องต่อศาล

-X-

 ♦ บริการล่าม

4,000

 

ตัวอย่าง คำสั่งศาล คดีรับรองบุตร บิดามารดาชาวต่างชาติ

รับว่าความทั่วประเทศ คดีรับรองบุตรชาวต่างชาติ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098

LINE ID : @tn13

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 278,313