รับบุตรบุญธรรม

คดีรับบุตรบุญธรรม

การรับบุตรบุญธรรม หมายถึง การรับลูกของคนอื่นมาเลี้ยงดูเสมือนเป็นลูกของตัวเอง โดยต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1598/27

อ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4851/2538

   การที่เจ้ามรดกทำหนังสือมีข้อความแสดงความจำนงและยินยอมรับผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรม แต่ปรากฎว่าไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินของเจ้ามรดก จึงไม่มีอำนาจตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้

 

หลักเกณฑ์และกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมากกว่าผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1598/19

2. ผู้ที่จะมาเป็นบุตรบุญธรรม ถ้าอายุยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคล ดังนี้

   2.1. พ่อและแม่ หรือพ่อหรือแม่แล้ว แต่กรณี หากพ่อหรือแม่ตายไปแล้ว หรือถูกถอนอำนาจปกครองไป ต้องได้ความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย ตามป.พ.พ. มาตรา 1598/21

   2.2. กรณีไม่มีผู้ให้ความยินยอมดังกล่าว หรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอม นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1598/21 วรรค2

   2.3. กรณีผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็ก ให้สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนบิดาและมารดา

3. ถ้าผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะต้องให้ความยินยอมในการเป็นบุตรบุญธรรมด้วย ตามป.พ.พ. มาตรา 1598/20

4. ถ้าผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมและผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม มีคู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสของตัวเองก่อน ตามป.พ.พ. มาตรา 1598/25 เว้นแต่

   4.1. คู่สมรสไม่สามารถมาให้ความยินยอมได้ เช่น เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นคนไร้ความสามารถ

   4.2. คู่สมรสนั้นไปเสียจากภูมิลำเนาของตัวเอง และไม่มีใครทราบข่าวคราวเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี

กรณีที่คู่สมรสไม่สามารถมาให้ความยินยอมได้ จะต้องไปร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้นเสียก่อน ถ้าไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสย่อมไม่สมบูรณ์

5. การรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะมาเป็นบุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมายื่นคำขอ พร้อมด้วยหนังสือแสดงความยินยอมของผู้มีอำนาจให้ความยินยอม โดยอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี จะให้ผู้ขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมไปทำการทดลองเลี้ยงดูเด็กด้วยตนเองเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามพระราชบัญญัติ การรับด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ.2522 ก่อนที่จะทำการอนุญาตให้ไปจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ยกเว้น กรณีผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือเป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม ไม่ต้องมีการทดลองเลี้ยงดูเด็กดังกล่าว

6. ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นอยู่ก่อนแล้ว จะมาจดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่นซ้ำอีกในเวลาเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะมาเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ตามป.พ.พ. มาตรา 1598/26

7. พระภิกษุ จะรับบุตรบุญธรรมไม่ได้

 

สถานที่ติดต่อ

» กรุงเทพมหานคร รวมทั้งชาวต่างประเทศ ไปติดต่อเพื่อยื่นคำขอได้ที่ ศูนย์อำนวยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม บ้านราชวิถี กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ

» ต่างจังหวัด ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือที่ทำการประชาสงเคราะห์จังหวัด ที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด

 

ขั้นตอนในการติดต่อขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

1. ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐาน

2. ผู้รับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป บิดาและมารดา บิดาหรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม คู่สมรส (ถ้ามี) ไปแสดงตนต่อหน้านายทะเบียนอำเภอหรือสำนักงานเขต เพื่อแสดงความยินยอมในการจดทะเบียน

3. นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารและหลักเกณฑ์ต่างๆ เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วน ก็จะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้ตามคำร้อง

4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรส ต้องนำคู่สมรสมาให้ความยินยอมด้วย

 

สิทธิและข้อควรทราบ

1. การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม ไม่มีใบสำคัญออกให้ ถ้าต้องการหลักฐานให้การยื่นคำร้องให้ยื่นคำขอคัดสำเนาทะเบียน โดยเสียค่าธรรมเนียม

2. เมื่อจดทะเบียนแล้ว ผู้รับบุตรบุญธรรมจะมีอำนาจปกครองบุตรบุญธรรม โดยมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูเสมือนเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมายของตนเอง

3. เมื่อจดทะเบียนแล้ว บิดามารดาโดยกำเนิดจะหมดอำนาจปกครองบุตรโดยผลของกฎหมายทันที ตามป.พ.พ.มาตรา 1598/28

4. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีสิทธิที่จะใช้ชื่อสกุล และมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้เป็นบุตรบุญธรรม

5. ผู้เป็นบุตรบุญธรรม มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมาย

6. จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกไม่ได้ เว้นแต่คู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม

 

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องต่อศาล

1. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้ร้อง

2. สูติบัตรของผู้เยาว์

3. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้เยาว์

4. หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรสของผู้ร้อง พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต ให้แนบมรณบัตร)

5. หนังสือให้ความยินยอมของบิดามารดาของผู้เยาว์ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต ให้แนบมรณบัตร)

6. ทะเบียนบ้านบิดามารดา และผู้มีส่วนได้เสีย ของผู้เยาว์ (กรณีไม่ให้ความยินยอม)

 

หลักเกณฑ์การเลิกรับบุตรบุญธรรม

1. การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมายเท่านั้น

2. ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกโดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้ มาตรา 1598/31

3. ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดาและมารดาของบุตรผู้เยาว์

 

คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้น มาตรา 1598/33 มีเหตุดังนี้

1. ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

2. ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอันเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

3. ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีหรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรงและการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มีโทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

4. ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้

5. ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้

6. ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกิน 3 ปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดยประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้

7. ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิด หรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 1564 มาตรา 1571 มาตรา 1573 มาตรา 1574 หรือมาตรา 1575 เป็นเหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

8. ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา หรือบิดาหรือมารดา กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกถอนอำนาจปกครองบุตร

2. ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจผู้ให้ความยินยอม หรือกรณีบิดาหรือมารดาไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุผลสมควร ให้อีกฝ่ายหนึ่งหรือผู้ที่จะขอรับบุตรบุญธรรม ร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตให้มีการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมแทนการให้ความยินยอมก็ได้

3. ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน แต่ในกรณีที่คู่สมรสไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้ หรือไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น

 

ค่าบริการว่าความ คดีขอจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

 ♦ ยื่นคำร้องต่อศาล

-X-

 ♦ ร่างหนังสือให้ความยินยอมจดทะเบียน

-X-

 ♦ ดำเนินการจดทะเบียน

-X-

 ♦ ปรึกษาการจดทะเบียน ต่างชาติ

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้ปรึกษากฎหมาย

ติดต่อทนายธนู โทร 083 4248098

LINE ID : @tn13

เปิดบริการทุกวัน 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
#1 โดย: ทนายธนู [IP: 184.22.248.xxx]
เมื่อ: 2020-02-10 11:17:11
สงสัยประเด็นใด สามารถสอบถามได้ หรือต้องการแชร์เพื่อเป็นความรู้ ขอเชิญกันได้เลยครับ
#2 โดย: Nipakugler3045@gmail.com [IP: 46.125.250.xxx]
เมื่อ: 2025-03-12 16:19:33
ทนายสามารถทำหนังสือยินยอมยกบุตรของตัวเองให้คนอื่นได้ไหมคะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 278,388