คู่มือติดต่อราชการ สำนักงานทะเบียน
จดทะเบียนรับรองบุตร
เอกสาร
1 บัตรประจำตัวประชาชน บิดา มารดา บุตร
2 ทะเบียนบ้าน บิดา มารดา บุตร
3 สูติบัตร บุตร
4 หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว-สกุล(ถ้ามี)
5 คำพิพากษาหรือคำสั่ง พร้อมหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด(ถ้ามี)
6 พยาน 2 คน
ขั้นตอน
1 บิดายื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตร
2 บุตร มารดา ต้องให้ความยินยอม ถ้าบุตรหรือมารดา คนหนึ่งคนใดไม่ให้ความยินยอม หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ เช่น เด็กไร้เดียงสา มารดาเสียชีวิต เป็นต้น บิดาต้องยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษา เท่านั้น
สถานที่ : ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำเนาเขต แห่งใดก็ได้
บันทึกฐานะแห่งครอบครัว
เอกสาร
1 บัตรประจำตัวประชาชน สามี ภริยา
2 ทะเบียนบ้าน สามี ภริยา
3 หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนครอบครัว หรือทะเบียนสมรส ที่ทำขึ้นในต่างประเทศ โดยแปลเป็นภาษาไทยและได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศ หรือสถานทูต สถานกงศุลของไทย หรือประเทศนั้นๆ
3 พยาน 2 คน
หลักเกณฑ์
1 ข้อความที่จะให้บันทึกต้องเป็นกิจการอันเกี่ยวกับฐานะแห่งครอบครัว
2 กิจการนั้น ได้กระทำไว้ในต่างประเทศตามแบบกฎหมายที่ประเทศนั้นบัญญัติไว้
3 ต้องเป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีที่เป็นคนสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติไทย
สถานที่ : ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำเนาเขต แห่งใดก็ได้
จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
คุณสมบัติ
1 ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องมีอายุมากกว่าผู้เป็นบุตรบุญธรรม 15 ปี
2 ผู้รับบุตรบุญธรรมที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี ต้องให้ความยินยอมด้วย
3 ผู้รับบุตรบุญธรรม และผู้เป็นบุตรบุญธรรม ที่มีคู่สมรส ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสด้วย
4 กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับอนุมัติให้จดทะเบียนจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน
เอกสาร
1 บัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับและผู้เป็นบุตรบุญธรรม
2 ทะเบียนบ้าน ผู้รับและผู้เป็นบุตรบุญธรรม
3 หนังสืออนุมัติให้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจากคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์
4 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล กรณีมีการอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
สถานที่ : ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำเนาเขต แห่งใดก็ได้
จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
วิธีการเลิก
1 โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย
2 โดยคำพิพากษาศาล
เอกสาร
1 บัตรประจำตัวประชาชน ผู้รับและผู้เป็นบุตรบุญธรรม
2 ทะเบียนบ้าน ผู้รับและผู้เป็นบุตรบุญธรรม
3 หนังสือรับรองว่าได้เข้าสู่กระบวนการเยียวยา จากกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และต้องได้รับความยินยอมจากผู้ที่ให้ความยินยอมจากผู้ที่ให้ความยินยอมใน๘ณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม กรณีบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์
4 คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
5 พยาน 2 คน
สถานที่ : ณ ที่ว่าการอำเภอ กิ่งอำเภอ หรือสำเนาเขต แห่งใดก็ได้
- ความคิดเห็น
- Facebook Comments