การประนอมหนี้

การประนอมหนี้ คดีล้มละลาย

ลูกหนี้อาจขอประนอมหนี้ได้ 2 ช่วง คือ

1. ก่อนล้มละลาย : โดยลูกหนี้จะต้องยื่นคำขอประนอมหนี้เป็นหนังสือยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่นคำชี้แจงเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน หรือภายในเวลาตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนด ซึ่งคำขอประนอมหนี้ต้องแสดงข้อความแห่งการประนอมหนี้ หรือวิธีจัดกิจการหรือทรัพย์สิน และรายละเอียดแห่งหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี)

   โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเรียกประชุมเจ้าหนี้ เพื่อปรึกษาลงมติพิเศษว่าจะยอมรับคำขอนั้นหรือไม่ และเมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติพิเศษยอมรับคำขอประนอมหนี้แล้ว ก็ยังต้องให้ศาลเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้นั้นอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเห็นชอบกับคำขอประนอมหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องโฆษณาคำสั่งในราชกิจจานุเบกษาและในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง

1. กรณีที่ศาลไม่เห็นชอบด้วยกับการประนอมหนี้ ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และแจ้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

2. กรณีที่ลูกหนี้ไม่ไปให้ศาลไต่สวน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะแถลงให้ศาลออกหมายจับลูกหนี้และขอให้ศาลงดการไต่สวนโดยเปิดเผย โดยถือว่าลูกหนี้ไม่ติดใจในการประนอมหนี้ แล้วพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายต่อไป

3. เมื่อลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้ หรือผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงไว้ในการประนอมหนี้ และพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 60

 

2. หลังล้มละลาย : ลูกหนี้มีสิทธิขอประนอมหนี้ภายหลังที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้วได้อีก แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกำหนดเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล

1. กรณีที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ศาลจะสั่งยกเลิกการล้มละลาย และให้ลูกหนี้กลับมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน

2. กรณีที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามข้อประนอมหนี้ ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการประนอมหนี้และพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. ขอประนอมหนี้ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาจใช้เวลาได้ยาวถึง 3 ปี

 

 

 


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 193,565