เรียกบุตรคืน

คดีฟ้องเรียกบุตรคืน #ทนายคดีฟ้องเรียกบุตรคืนThanuLaw

   เด็กที่เกิดจากหญิง ซึ่งมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกับชาย กฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง จึงต้องอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ชายจะยินยอมให้บุตรใช้นามสกุล และทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นบิดาก็ตาม ก็ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย

   ซึ่งชายจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ต้องเป็นกรณีจดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร หรือจดทะเบียนรับรอบบุตร หรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่กรณีเป็นเพียงบุตรนอกกฎหมาย ตามกฎหายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน บุตรมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ของบิดาเท่านั้น

   ดังนั้น เมื่ออำนาจปกครองบุตรอยู่กับมารดาแต่เพียงผู้เดียว หากบิดาไม่ยินยอมคืนบุตร อันถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ มารดาย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกบุตรคืนจากบิดาได้

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : แม้มารดาจะตกลงยินยอมให้อยู่กับบิดาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่สามารถใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543

   โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4)

   คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย

 

ประเด็น : ศาลมีคำสั่งให้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ยกขึ้นฏีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2523

   โจทก์ฟ้องเรียกบุตรคืนเมื่อแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าโจทก์จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรข้อเท็จจริงจึงเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป

   ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและได้ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองนั้น เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีที่มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกบุตรคืนจากจำเลยหรือไม่ศาลมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง

   ข้อที่จำเลยฎีกาว่าขณะนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตรทั้งจำเลยจดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ส่งบุตรคืน นั้น จำเลยกล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นฎีกามิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

 

ประเด็น : อ้างว่าดูแลบุตรได้ดีกว่า รับฟังไม่ได้ เพราะบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิใด ๆ ในตัวบุตร 

พิพากษาฎีกาที่ 16395/2557

   ผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นหญิงที่มิได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้อ้างว่าเป็นบิดาของผู้เยาว์ แต่เมื่อผู้เยาว์มิได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน การจะอ้างว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อบิดามารดาสมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีลักษณะที่ปรากฏตามความดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่ ทั้งนี้ตามป.พ.พ. มาตรา 1547 ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียวผู้เดียว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 1567(1)และ(4) ที่โจทก์เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของโจทก์ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้

 

ประเด็น : โจทก์สามารถขอคุ้มครองชั่วคราวให้ส่งบุตรคืน ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2523

   พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา69 วรรคแรกบัญญัติว่า "ก่อนที่ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแพ่งให้ศาลฟังความเห็นของผู้อำนวยการสถานพินิจหรือคณะกรรมการพินิจและคุ้มครองเด็กที่ผู้เยาว์นั้นอยู่ในเขตอำนาจก่อน ฯลฯ" คำว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวหาได้หมายถึงคำสั่งที่ศาลสั่งในระหว่างการพิจารณาไม่ ศาลจึงมีคำสั่งกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาโดยปราศจากรายงานของเจ้าพนักงานคุมประพฤติได้

   โจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ถอนอำนาจปกครองเด็กโดยให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและให้จำเลยส่งมอบเด็กคืนแก่โจทก์การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบเด็กให้โจทก์ในระหว่างการพิจารณา จึงเกี่ยวกับประโยชน์ของโจทก์ที่มีอยู่ในคดี โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 และคำร้องของโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกับคำฟ้อง

 

ประเด็น : บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมาย พาบุตรไปเลี้ยงดู ไม่มีความผิดฐานพรากผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 398/2517

   บิดาพรากบุตรนอกสมรสไปเสียจากการปกครองของมารดา เพื่อให้การอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา การกระทำโดยมีเจตนาดีต่อบุตร เช่นนี้ ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการพรากโดยปราศจากเหตุอันสมควรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 317

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น

มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ

   (1) กำหนดที่อยู่ของบุตร

   (2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

   (3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

   (4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

 

คำวินิจฉัยที่ ยช.1/40 ฟ้องเรียกบุตรคืนโดยอ้างว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566,1567(1) ตามบรรพ 5 ถือว่าเป็นคดีครอบครัว

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. ปัญหาคือชนะคดีแล้ว ไปรับบุตรพร้อมเจ้าหน้าที่บังคดี แต่บุตรไม่ยอมมา เนื่องจากมีความผูกพันกับครอบครัวสามี อย่างนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่สามารถบังคับเด็กได้ เพราะคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ หากต้องการพาบุตรมาต้องขอให้ศาลออกหมายเรียกตัวความและเด็กมาสอบถาม

2. บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่บุตร

3. การที่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับมารดาทำข้อตกลงกันว่าให้บิดาใช้อำนาจปกครองในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้มารดาใช้อำนาจปกครองบุตรในวันเสาร์อาทิตย์นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายให้ตกลงกันเช่นนั้นได้ ต่อมาเมื่อมารดาชอบด้วยกฎหมายประสงค์จะเรียกบุตรคืนจากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นผู้อื่นตามความหมายของป.พ.พ. มาตรา 1567 ที่กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มารดาเรียกบุตรคืนได้

4. การกำหนดที่อยู่บุตร กล่าวคือ การอนุญาตให้บุตรไปพักอาศัยอยู่กับคนอื่นได้ เช่น ให้ปู่ย่าตายาย  ไปเลี้ยง ไปพักอาศัยอยู่ที่บ้าน เป็นต้น

5. บุคคลอื่น คือ ไม่ใช่บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย

6. การเรียกบุตรคืน เป็นคดีแพ่ง ต้องใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น แต่อาจขอตำรวจไปช่วยไกล่เกลี่ยได้

7. หากยังดื้อแพ่ง สามารถหมายจับหรือหมายขังได้ โดยคำสั่งศาล ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 161

8. การใช้สิทธิทางศาล บางกรณีก็อาจจบด้วยความรวดเร็ว แค่ได้รับหมายศาลเท่านั้น

9. ส่วนกรณีของพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสองฝ่ายนั้น ศาลอาจตัดสินให้บุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลยก็ได้ หรืออาจให้ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน โดยแบ่งเวลาดูแลลูกกันตามสมควร

 

ค่าบริการว่าความ คดีเรียกบุตรคืน

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

♦ ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดี

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการทุกวัน 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
 
 
ตัวอย่าง ข้อตกลงคดีเรียกบุตรคืน
 
 
#1 โดย: Noonum1989 [IP: 49.237.22.xxx]
เมื่อ: 2020-10-21 10:16:39
ในกรณีจดทะเบียนสมรส..แล้วหย่า..ผู้ชายยกบุตรให้ฝ่ายหญิงดูแลแหนบถ่ายใบหย่ามา...พอมาวันนึ่งคืนดีกันได้นำลูกมาเลี้ยงมาอยู่ด้วยกัน..พอท้องลูกอีกคนยังอยู่ในท้อง...แล้วเขาบอกให้เราไปฟ้องหย่าฝ่ายหญิงต้องทำไงค่ะ
#2 โดย: Prontip [IP: 49.237.19.xxx]
เมื่อ: 2020-11-08 21:53:49
ต้องทำไงค่ะ.. อยากได้ลูกคืนโดยพ่อเอาลูกไปทั้งที่ไม่ได้จดทะเบียนแต่เราอยากให้ลูกอยู่กับเราด้วยแล้วเค้าได้กระชากลูกออกจากตัวเราต้องทำยังไงคะ
#3 โดย: Won [IP: 184.22.183.xxx]
เมื่อ: 2020-11-26 21:52:39
ผมแต่งงานก้บแฟนมา10ปีได้แล้วมีลูก2คนแต่ไม่ได้จดทะเบียนแฟนนอกใจอย่างนี้ผมมีสิทธ์เอาลูกไปเลี้ยงไหม แต่แม่ยายเลี้ยงอยู่ อยากรู้ค้บ
#4 โดย: โอปอ [IP: 1.47.41.xxx]
เมื่อ: 2021-01-23 11:46:01
ถ้าแม่เอาลูกของหนูไปให้ญาตเลี้ยงซึ่งมีการโกหกก่อนหน้านี้หนูจะได้ลูกคืน อย่างไรค่ะ
#5 โดย: อรพิมพ์ [IP: 180.183.5.xxx]
เมื่อ: 2021-11-17 11:27:11
ในกรณี อยู่กินกันมาเกือบ10ปี มีลูก2คน แต่พึ่งจดทะเบียนไม่นานมานี้ แต่ต้องการเลิกเพราะพ่อเขาไม่ทำมาหากิน ไม่ส่งค่าเลี้ยงดูช่วย และต้องการหย่าแต่เขาไม่ยอมหย่า จะทำยังไงดีคะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
#6 โดย: นฤพนธ์ [IP: 171.97.113.xxx]
เมื่อ: 2022-01-04 20:01:21
แบบนี้ผมคงหมดหวัง อยากได้ลูกมาเลี้ยงหรือแค่ให้เขาอนุญาตมาเป็นบางครั้งบางคราว คงจะอยากสิครับ
เพราะผมไม่ได้จดทะเบียน คุณทนายพอจะทฝมีทางออกให้ไหมครับ
#7 โดย: สา [IP: 122.155.47.xxx]
เมื่อ: 2022-04-25 23:33:37
ถูกกีดกั้นไม่ให้เจอลูกไม่ให้โทรหาลูก
สามารถฟ้องศาลได้ใช่ไหมค่ะ
อยากได้ลูกมาปกครองค่ะ
#8 โดย: มนัญยา [IP: 27.55.90.xxx]
เมื่อ: 2022-09-04 19:46:03
ไม่ใด้จดทะเบียน เลิกกันตั่งแต่ลูก 3ขวบ คุยกันตอนแรก พ่อเป็นคนเลี้ยงดู แม่ไปหาใด้ รับมาเล่นใด้ พอเวลาผ่านไปไม่กี่เดือน แม่ถูกกีดกัน ไปรับมาเล่นก็ไม่ให้มา ไปก็โดนทางพ่อด่าทอตลอด ก็ทนมาตลอดเกือบ 10ปี จนลูกเริ่มโตเป็นสาว เริ่มใด้แชทคุย โทมาร้องให้ อยากยุกับแม่ อยู่กับพ่อไม่มีความสุข พ่อด่า พ่อตีไม่มีเหตุผล ลูกบอกอยากตาย พ่อเคยขู่ลูก ว่า..กูทำมึงเกิดมาใด้ กูก็ฆ่ามึงใด้ คำๆนี้ติดอยู่ในใจ แม่จะช่วยหนูอย่างไรลูก..คนเป็นแม่ทรมารเหลือเกิน แม่มีสิททำอะไรใด้บ้าง ขอคำแนะนำหน่อยค๊ะ....
#9 โดย: ชาลิตา [IP: 182.232.54.xxx]
เมื่อ: 2022-09-30 22:44:35
ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วอยู่เลี้ยงดูลูกอยู่ทางบ้านแฟนจนลูกขวบครึ่ง แล้วมีปัญหากันทางครอบครัวพ่อเด็กไม่ให้ลูกมาอยู่กับเราต้องทำยังใงค่ะ ทางนี้ ฝั่งครอบครัวพ่อเด็กจะเเจ้งจับเราถ้าเราเอาลูกกลับไปเลี้ยงดูเองจะได้มั้ยค่ะ ทางครอบครัวเราไม่เคยส่งเสียก็จิงเเต่เราเลี้ยงเขามาทางนี้จนโต พอมีปัญหาทางครอบครัวจะทวงบุญคุณไม่ให้ลูกเราว่าเราไม่มีปัญญาเลี้ยงเราควรทำอย่างไรได้บ้าง.เราอาศัยบ้านเขาอยู่เขาเป็นเจ้าบ้านเขาสามารทดูถูกเหยียบหยามเรากับครอบครัวเราได้มั้ย.
#10 โดย: อลิษา [IP: 49.48.225.xxx]
เมื่อ: 2023-04-09 19:41:51
วันนี้วันที่09/04/2566 หนูเกิดเหตุการ์ณทางบ้านแฟนเก่าเท่ากับปู่ย่าของลูก กีดกันไม่ให้หนูคือแม่เด็กไม่ยอมให้เจอลูกค่ะ เพราะไม่ให้ยืมเงินแล้วก็ด่าหนูค่ะหาเรื่องหนูจะอ้างว่าไม่ต้องมารับลูกไม่ต้องมาเหยียบบ้านกูค่ะทั้งที่หนูดูแลลูกมาตบอดส่งเสียเขาถ้าไม่มีเรื่องยืมเงินหนูก็ไปรับลูกมาเที่ยวมานอนกับหนูได้แต่พอไม่ให้ยืมเงินก็จะหาข้ออ้างไม่ให้หนูเจอลูกค่ะแล้วมาด่าหนูต่อหน้าลูกในทางโทรศัพท์แล้ววิดีโอคอลกันลูกร้องให้ต่อหย้าหนูเลยคะลูกหนูอายุ5ขวบเพราะปู่คนเดียวเลยค่ะทำให้ลูกหนูมาเจอแบบนี้บ่อยๆเรื่องเงินโดยเฉพาะเบยค่ะไม่ให้หนูเจอลูกมารับลูกไปอยู่ไปนอนด้วยค่ะทำยังไงดีค่ะนับครั้งไม่ถ้วนวันนี้หนูอดทนไม่ไหวแล้วค่ะหนูไม่มีใครด้วยค่ะ ช่วยหนูกน่อยนะคะ
#11 โดย: 0925603322 [IP: 49.230.216.xxx]
เมื่อ: 2023-05-24 14:09:58
อยู่ๆเมียพาลูกหนีไป พ่อไม่ได้จดทะเบียนมีสิทเอาลูกคืนได้คับ
กลัวแม่เลี้ยงไม่ไหว จบแค่ประถม6 อายุ 29
พ่ออายุ47

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 194,277