สิทธิผู้ต้องหา
สิทธิของผู้ต้องหาและจำเลย
เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
มาตรา 29 วรรค 2 ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 7/1 ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก และให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย
(1) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
(3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
(4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 134/1 ในคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้
ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุก ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีและผู้ต้องหาต้องการทนายความ ให้รัฐจัดหาทนายความให้
มาตรา 134/3 ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
มาตรา 134/4 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า
(1) ผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
(2) ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้เมื่อผู้ต้องหาเต็มใจให้การอย่างใดก็ให้จดคำให้การไว้ ถ้าผู้ต้องหาไม่เต็มใจให้การเลยก็ให้บันทึกไว้
ถ้อยคำใดๆ ที่ผู้ต้องหาให้ไว้ต่อพนักงานสอบสวนก่อนมีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือก่อนที่จะดำเนินการตามมาตรา 134/1 มาตรา 134/2 และ มาตรา 134/3 จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้นั้นไม่ได้
มาตรา 135 ในการถามคำให้การผู้ต้องหา ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำหรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ทรมาน ใช้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบ ประการใดๆ เพื่อจูงใจให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องการนั้น
มาตรา 8 นับแต่เวลาที่ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิดังต่อไปนี้
(1) ได้รับการพิจารณาด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
(2) แต่งทนายความแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องหรือชั้นพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนชั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
(3) ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
(4) ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐานและคัดสำเนาหรือถ่านรูปสิ่งนั้นๆ
(5) ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาของศาล และคัดสำเนาหรือขอรับสำเนาที่รับรองว่าถูกต้องโดยเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ศาลจะมีคำสั่งให้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
(6) ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน
ถ้าจำเลยมีทนายความ ทนายความนั้นย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับจำเลยดังกล่าวมาแล้วด้วย
โดยคิดดอกเบี้ยต่ำเพียง 2% เราเป็นบุคคลที่ให้สินเชื่อ
ระหว่างบุคคลที่จริงจังที่ต้องการธุรกิจขนาดเล็กส่วนบุคคล
การลงทุนเพียงดอกเบี้ย 2% ตามคำขอทำให้สงบสุข พวกเราทำ
เงินกู้ในประเทศและเงินกู้ระหว่างประเทศแก่ผู้คนทั่วโลก ของเรา
องค์กรไม่ใช่ธนาคารและเราไม่ต้องการเอกสารจำนวนมาก สินเชื่อ
ยุติธรรมและซื่อสัตย์และเชื่อถือได้ ติดต่อเราวันนี้และแจ้งให้เราทราบจำนวนเงิน
ของเงินที่คุณต้องการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ของบริษัท
ผ่าน ( radickjames7@gmail.com )
ติดต่อ WhatsApp ส่วนตัวของบริษัท (+39 351 151 5233)
ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียง 2% เราคือบุคคลที่ให้สินเชื่อ
ระหว่างบุคคลที่จริงจังที่ต้องการมีธุรกิจส่วนตัวขนาดเล็ก
การลงทุนเพียงดอกเบี้ย 2% ตามคำขอทำให้เกิดความสงบสุข พวกเราทำ.
สินเชื่อในประเทศและต่างประเทศของเราแก่ผู้คนทั่วโลก
องค์กรไม่ใช่ธนาคารและเราไม่ต้องการเอกสารมากมาย
ยุติธรรม ซื่อสัตย์ และเชื่อถือได้ ติดต่อเราวันนี้และแจ้งให้เราทราบจำนวนเงิน
ของเงินที่คุณต้องการ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่อีเมล์ของบริษัท
ทาง ( radickjames7@gmail.com )
ติดต่อ WhatsApp ส่วนตัวของบริษัท (+39 351 151 5233)