บังคับคดี สืบทรัพย์

บริการด้านบังคับคดี #ทนายบังคับคดีThanuLaw #รับสืบทรัพย์บังคับคดีลูกหนี้ThanuLaw

» สืบค้น ทรัพย์สินของลูกหนี้ เพื่อใช้ในการตั้งเรื่องบังคับคดี เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม ตึกแถว รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เงินเดือน และทรัพย์สินอื่น ๆ

» ยึด อายัดทรัพย์สิน เพื่อนำออกขายทอดตลาด

» ขับไล่ ดำเนินการรื้อถอน

 

ขั้นตอนที่ 1. การสืบค้นทรัพย์สินของลูกหนี้

โจทก์หรือผู้รับมอบอำนาจ ยื่นคำขอตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดินและห้องชุด ณ สำนักงานที่ดินใดก็ได้

ตรวจค้นเจอ : สามารถขอคัดถ่ายสำเนาภาพลักษณ์ ได้

ตรวจค้นไม่เจอ : จะมีบันทึกรายงานรายการผลการสอบถามข้อมูลตรวจสอบหลักทรัพย์ ว่า “ไม่พบรายการหลักทรัพย์”

เอกสารประกอบ

1. คำพิพากษา หรือสัญญาประนีประนอมยอมความ

2. หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด

3. หมายบังคับคดี

4. หนังสือมอบอำนาจ

5. บัตรประจำตัวประชาชน

หมายเหตุ : ผู้ขอต้องเซ็นยืนยันว่า คำพิพากษาที่แนบมา คดีถึงที่สุดแล้ว ถ้าคดียังไม่ถึงที่สุด ยังไม่ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจ ตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540 มาตรา 24(8)

ระยะเวลา

1. ที่ดินที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ 14 พื้นที่ สำนักงานที่ดินทั่วประเทศ สามารถเข้าระบบดึงข้อมูลตรวจสอบได้เลย

2. ที่ดินที่ตั้งอยู่ในต่างจังหวัด สำนักงานฯที่เราไปติดต่อ จะส่งเรื่องไปยัง สำนักงานที่ดินที่ตั้งทรัพย์ให้ตรวจสอบแทน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับงานของสำนักงานที่นั้นๆ โดยปกติ ก็จะเสร็จในวันเดียวกัน

ค่าบริการตรวจค้นที่ดิน : ประมาณ 150 - 200 บาท

 

ขั้นตอนที่ 2. ออกให้ศาลออกหมายบังคับคดี และขอตั้งเรื่องขอบังคับคดี ณ สำนักงานบังคับคดี

ขั้นตอนการตั้งเรื่องขอบังคับคดี 

1. สืบหาทรัพย์สิน

2. เตรียมเอกสารส่งประกอบการยึด อายัดทรัพย์สิน

3. ยื่นคำขอยึด - อายัด โดยแสดงรายละเอียดทรัพย์สิน

4. วางเงินประกันค่าใช้จ่าย

5. เตรียมพาหนะ นำเจ้าพนักงานไปดำเนินการ

 

เตรียมเอกสารประกอบ การยึดอสังหาริมทรัพย์ ณ ที่ทำการ

ยึดที่ดิน พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

1. ต้นฉบับโฉนดที่ดิน ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2. หนังสือรับรองราคาประเมิน

3. สัญญาจำนอง (ถ้ามี)

   3.1. กรณียึดจาก Developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย

4. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6. หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8. ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

10. เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

11. วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

12. ค่าธรรมเนียมถอนการยึด 2%ของราคาประเมินหรือยอดหนี้ จำนวนใดจำนวนหนึ่งที่น้อยกว่า

 

ยึดห้องชุด หรือคอนโดมิเนียม ดังนี้

1. ต้นฉบับหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ถ้าเป็นสำเนาต้องให้เจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2. หนังสือรับรองราคาประเมิน

3. สัญญาจำนอง (ถ้ามี)

   3.1. กรณียึดจาก developer ต้องขอคัดหนังสือเฉลี่ยหนี้ พร้อมโฉนดที่ดินหลักด้วย 

4. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย ผู้ถือกรรมสิทธิ์ คู่สมรสของจำเลย ทายาทของจำเลยผู้ตาย ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

5. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - สกุล ของโจทก์และจำเลย (ถ้ามี)

6. หนังสือรับรองบริษัท / ห้องหุ้นส่วน / บริษัทจำกัด(มหาชน) กรณีเป็นนิติบุคคล

7. แผนที่การเดินทางไปที่ตั้งทรัพย์ที่ยึด พร้อมสำเนา 1 ชุด

8. ภาพถ่ายปัจจุบัน ของทรัพย์ที่จะยึด และแผนผังของทรัพย์ที่จะยึด โดยระบุขนาดกว้าง - ยาว

9. หนังสือรับรองนิติบุคคลอาคารชุดที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

10. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

11. เขียนคำขอยึดทรัพย์ ณ ที่ทำการ(แบบ 3ก)

12. วางเงินค่าใช้จ่าย สำนวนละ 2,500 บาท

 

ยึดทรัพย์สิน ประเภทสังหาริมทรัพย์

1. สำเนาทะเบียนบ้านของจำเลย หรือคู่สมรส (กรณีสินสมรส) ซึ่งนายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน นับถึงวันยึด

2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

3. เขียนคำขอยึดทรัพย์ตาม แบบ 7 แจ้งสถานที่ที่จะไปยึดทรัพย์สิน

4. วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

5. เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

6. เตรียมยานพาหนะและคนเพื่อนขนย้ายทรัพย์สินที่ยึดไปเก็บรักษา ณ สำนักงานบังคับคดี

 

ขับไล่และรื้อถอน

1. เขียนคำร้อง แบบ 7 ขอให้ขับไล่ รื้อถอน

2. หนังสือมอบอำนาจ(หากมี)

3. เตรียมยานพาหนะ สำหรับรับ ส่ง เจ้่าพนักงานบังคับคดี

4. เตรียมคนงานในการรื้อถอนและยานพาหนะ สำหรับขนย้าย

5. วางค่าใช้จ่าย สำนวนละ 1,500 บาท

 

ธรรมเนียมบังคับคดีแทน : 1,000 บาท

 

ระยะเวลาในการบังคับคดี : ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง(ม.275)

 

ขั้นตอนที่ 3. การประกาศขายทอดตลาด

เมื่อแจ้งการยึดไปยังลูกหนี้และผู้มีส่วนได้เสียแล้ว เจ้าพนักงานจะดำเนินการ รายงานศาลขอนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด

1. จัดทำประกาศขาย ระบุ รายละเอียดทรัพย์ ราคาประเมิน วัน เวลา สถานที่ขาย พร้อมข้อสังเกต คำเตือน เงื่อนไข

2. ส่งประกาศขายให้ผู้มีส่วนได้เสีย

3. ปิดประกาศขายไว้โดยเปิดเผย

 

วันขายทอดตลาด

1. ไม่มีผู้เสนอราคา ให้งดขาย

2. มีผู้เสนอราคาสูงสุดและเป็นราคาที่สมควรขาย ไม่มีผู้คัดค้านราคา ให้เคาะไม้ขาย

3. มีผู้คัดค้านราคา เลื่อนการขายไปนัดหน้า ผู้เสนอราคาสูงสุดผูกพันกับการเสนอราคา 30 วัน

4. กำหนดขายนัดต่อไป เคาะไม้ขายให้แก่ผู้เสนอราคาสูงสุด          

 

การชำระราคาค่าซื้อทรัพย์

» สังหาริมทรัพย์ ชำระเงินสดทันที

» อสังหาริมทรัพย์ เงินที่วางเป็นหลักประกันเป็นเงินมัดจำเงินที่เหลือชำระภายใน 15 วัน มีเหตุจำเป็นขอขยายเวลาวางเงินได้ 3 เดือน

 

ขั้นตอนที่ 4. การอายัดทรัพย์สิน

สิทธิเรียกร้องที่อายัดได้

1. เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา

2. โบนัส

3. เงินตอบแทน กรณีออกจากงาน

4. เงินฝากในบัญชีธนาคาร สถาบันการเงิน

5. เงินปันผลหุ้น

6. ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่างวดงานตามสัญญาจ้างงาน ฯลฯ

 

การอายัดเงินลูกหนี้ รายละเอียดดังนี้

1. เงินเดือน ค่าจ้าง ของส่วนที่เกิน 20,000 บาททั้งหมด

2. โบนัสประจำปี จำนวน 50%

3. เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา จำนวน 30%

4. เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน ได้ในส่วนที่เกินกว่า 300,000 บาท

 

เตรียมเอกสารประกอบการอายัด ดังนี้

1. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของโจทก์ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลของ รับรองไม่เกิน 1 เดือน

2. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

3. หลักฐานแห่งสิทธิเรียกร้องหรือสำเนาเอกสารที่มีข้อความระบุถึงความมีอยู่ของเงิน

4. สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือรับรองนิติบุคคลของบุคคลภายนอกผู้รับคำสั่งอายัด นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 1 เดือน

5. สำเนาคำฟ้องและสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยในชั้นฟ้อง

6. เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด

 

การพิจารณาลดอายัดเงินเดือน

1. ลูกหนี้ขอลดการอายัด ส่งหนังสือรับรองเงินเดือน หลักฐานความจำเป็น

2. เจ้าพนักงานพิจารณาลดอายัดเงินได้ ไม่เกินกึ่งหนึ่ง

3. เจ้าหนี้ ลูกหนี้ ไม่เห็นชอบ ให้ร้องต่อศาลเพื่อกำหนดจำนวนเงินที่อายัดใหม่

 

รวบรวม คำถามยอดนิยม

ข้อ 1. ยึดที่ดินของลูกหนี้ซึ่งติดจำนองธนาคาร ได้ไหม

ตอบ ได้ แต่เงินที่ขายทอดตลาดได้ เจ้าหนี้จำนองจะมีสิทธิได้รับเป็นอันดับแรก

 

ข้อ 2. ยึดทรัพย์นำอออกขายตลาดแล้วได้รับเงินไม่พอชำระหนี้ จะยึดทรัพย์ลูกหนี้ได้อีกไหม

ตอบ สามารถยึดทรัพย์สินได้อีก ภายใน 10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา

 

ข้อ 3. อายัดเงินเดือนข้าราชการได้ไหม

ตอบ ไม่ได้ เว้นแต่อายัดค่าอุปการะเลี้ยงดู ตามพรบ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.พ.2553

 

ข้อ 4. ลูกหนี้ทำงานอยู่ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ขออายัดเงินเดือนได้ไหม

ตอบ อายัดได้ เช่น การรถไฟ ขสมก. การประปา การไฟฟ้า การท่าเรือ การบินไทย ไปรษณีย์ไทย เป็นต้น

 

ข้อ 5. เจ้าหนี้ขอตรวจสอบว่าลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือนได้ไหม

ตอบ ได้ โดยขอตรวจสอบ ณ สำนักงานบังคับคดี

 

ข้อ 6. ครบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระหนี้ครบถ้วน จะขออายัดเงินเดือนต่อไปได้ไหม

ตอบ ได้จนกว่าจะครบถ้วน แม้ระยะเวลาจะเกิน 10 ปี ไม่ขาดดอายุความ อ้างอิงตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 1216/2556

 

ข้อ 7. ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดได้แล้ว เจ้าของเดิมไม่ยอมออกไป ต้องดำเนินการอย่างไร

ตอบ ยื่นคำร้องขอศาลออกคำบังคับให้เจ้าของเดิมพร้อมบริวารออกไปจากทรัพย์ที่ซื้อภายในเวลาที่ศาลกำหนด ไม่น้อยกว่า 30 วัน

 

ข้อ 8. การดำเนินการขายทอดตลาด จะขาย ณ ที่ใด

ตอบ ขาย ณ ที่ทำการของสำนักงานบังคับคดีท้องที่ที่ทรัพย์ตั้งอยู่

 

ข้อ 9. กรณีบังคับคดีนอกเขตศาลที่มีคำพิพากษาตั้งทำอย่างไร

ตอบ นำคำบังคับไปขอศาลที่มีเขตอำนาจในที่ตั้งทรัพย์ ออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี หากมีการแก้ไข ก็สามารถยื่นต่อศาลนั้นได้เช่นกัน

 

ข้อ 10. นายจ้างไม่ยอมนำส่งเงินเดือนที่เจ้าหนี้ขออายัด เจ้าหนี้จะต้องทำอย่างไร

ตอบ ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 312 วรรค1 เพื่อขอให้ศาลออกหมายเรียกกรรมการบริษัทมาไต่สวนที่ศาล

 

เจรจาติดต่อทวงถาม

♦ รับเร่งรัดหนี้สินจากลูกหนี้ ติดต่อทวงหนี้ ติดตามหนี้สินค้างชำระ 

♦ รับเจรจาประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน ธนาคาร ไฟแนนซ์ และเจ้าหนี้ทั่วไป

♦ เจรจาข้อตกลงหรือข้อสัญญาต่างๆเกี่ยวกับธุรกิจ

 

ข้อกฎหมาย เกี่ยวกับอายุความบังคับคดี ที่น่าสนใจ

การนับระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตาม ป.วิ.แพ่ง

1. หนี้ตามคำพิพากษาตามยอมที่กำหนดให้ชำระเป็นงวด เป็นรายเดือน หรือ เป็นรายปี ให้นับระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่หนี้ตามคำพิพากษานั้นอาจบังคับชำระได้

กรณีโจทก์และจำเลยตกลงกันว่า "หากผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าผิดนัดทั้งหมด" ระยะเวลาการบังคับคดีสำหรับหนี้ที่เหลือ จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันผิดนัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันที่อาจบังคับชำระหนี้ได้ โดยมีระยะเวลาในการบังคับคดี 10 ปี ตามมาตรา 274

2. หนี้ตามคำพิพากษา มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษา

 

ป.วิ.แพ่ง

มาตรา 274 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้ (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้หรือได้ดำเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

   ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกำหนดให้ชำระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลา 10 ปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นอาจบังคับให้ชำระได้

   ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นการให้ชำระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีอำนาจบังคับคดีตามความในหมวด 2 การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด 3 การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป

 

ค่าบริการด้านบังคับคดี

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

♦ สืบค้นทรัพย์สิน ลูกหนี้

10,000

♦ ยึดทรัพย์ ขายทอดตลาด

25,000

+ 10% ของเงินที่ได้รับ

♦ อายัดเงินเดือน เงินฝาก

25,000

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

ทนายธนู Tel. 083-4248098

LINE : @kbv6958j

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 20.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
 
 
#1 โดย: ทนายธนู [IP: 184.22.251.xxx]
เมื่อ: 2019-06-01 19:18:16
สงสัยประเด็นใด สามารถสอบถามได้ หรือต้องการแชร์เพื่อเป็นความรู้ ขอเชิญกันได้เลยครับ
#2 โดย: ทนายธนู [IP: 49.229.236.xxx]
เมื่อ: 2023-02-27 10:28:33
ถ้าที่ดิน 1 ง.มีชื่อรวมกันเป็นเจ้าของ 5 คน มี 1 คนใน 5 คนนี้ใด้ค่ำประกันรถให้เขาๆใด้ผิดนัดชำระค่างวด ทางโรจน์ใด้ดำเนิอคดีฟ้องศาลเพราะตรวจสอบเจอสัพสินของคนค่ำหลังจากผิดชำระค่างวด.โดยทุกคนทีมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินนี้ ไม่เคยรู้เรื่องทั้งหมดนี้มาก่อน.
เมื่อวานมีผู้หญิงถือกระดาษ1แผ่นมา แล้วพูดว่า
"ที่ดิน 1 งานนี้ใด้ขายทอดตลาดแล้ว
เขาเป็นคนชื่อไว้ ถ้าอยากใด้คืนให้คนที่ค่ำประกันไปติดต่อที่ศาล"
### อยากรู้ว่าที่ดิน 1 งานนี้มีเจ้าของ 5 คน เขาสามารถยึดที่ดินของคนอื่นที่มีชื่ออยู่ด้วยอีก 4 คน
ได้หรอค่ะ
#3 โดย: ทนายธนู [IP: 124.120.207.xxx]
เมื่อ: 2023-11-12 06:35:19
ตอบ #

ยึดได้ครับ แล้วก็ยึดไปแล้วด้วย แถมขายทอดตลาดได้แล้วด้วย - ตามข้อมูลที่แจ้งมา

ซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดี จะกันส่วนเงิน 4 ใน 5 ส่วน ให้เจ้าของร่วมอีก 4 คน ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 231,121