กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

มาตรา 136 ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยยอมรับผิด ถ้าโจทก์พอใจยอมรับเงินที่จำเลยวางโดยไม่ติดใจเรียกร้องมากกว่านั้น และคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปอีก ให้ศาลพิพากษาคดีไปตามนั้น คำพิพากษานั้นเป็นที่สุด แต่ถ้าโจทก์ไม่พอใจในจำนวนเงินที่จำเลยวาง และยังติดใจที่จะดำเนินคดีเพื่อให้จำเลยต้องรับผิดในจำนวนเงินตามที่เรียกร้องต่อไปอีก จำเลยมีสิทธิถอนเงินที่วางไว้นั้นได้ โดยให้ถือเสมือนว่ามิได้มีการวางเงิน หรือจำเลยจะยอมให้โจทก์รับเงินนั้นไปก็ได้ ในกรณีหลังนี้ โจทก์จะรับเงินไปหรือไม่ก็ตาม จำเลยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่วาง แม้ว่าจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย ทั้งนี้ นับแต่วันที่จำเลยยอมให้โจทก์รับเงินไป

    ในกรณีที่จำเลยวางเงินต่อศาลโดยไม่ยอมรับผิด จำเลยจะรับเงินนั้นคืนไปก่อนที่มีคำพิพากษาว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดไม่ได้ การวางเงินเช่นว่านี้ ไม่เป็นเหตุระงับการเสียดอกเบี้ยหากจำเลยมีความรับผิดตามกฎหมายจะต้องเสีย

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16134/2556

   การที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษานั้น เป็นการกระทำเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยมุ่งประสงค์ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้โจทก์ทราบ หากโจทก์ทราบแล้วไม่มารับเงินภายใน 5 ปีนับแต่มีการวางเงิน เงินดังกล่าวจึงจะถือว่าเป็นเงินค้างจ่ายและทำให้ตกเป็นของแผ่นดิน แต่คดีนี้หลังจากลูกหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบ เงินดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายใน 5 ปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 และยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน

 

คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ

http://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/download/article/file_import/center-law32_55.pdf

Visitors: 194,772