ที่ปรึกษากฎหมาย คดีเด็กและเยาวชน

ที่ปรึกษากฎหมาย ในศาลเยาวชนและครอบครัว คือใคร?

   ตามข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมายการจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556

   ที่ปรึกษากฎหมาย หมายความว่า ทนายความซึ่งสอบผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กําหนดและได้รับการขึ้นทะเบียน ให้เป็นที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

 

คุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ดังนี้

1. เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ

2. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

3. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ

4. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษโดยคําพิพากษาถึงที่สดให้ จําคุกในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะนํามาซึ่งความเสื่อมเสียต่อการปฏิบัติหน้าที่ที่ปรึกษากฎหมาย

5. ไม่เป็นผู้ถูกเพิกถอนชื่อจากทะเบียนที่ปรึกษากฎหมาย

 

หน้าที่ : ดำเนินว่าความในคดีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดในคดีอาญาทุกข้อหา

เด็ก คือ บุคคลอายุยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์

เยาวชน คือ บุคคลอายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

โดยให้ถือเกณฑ์อายุ ใน "วันที่เด็กหรือเยาวชนนั้นกระทำความผิด" ซึ่งจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเยาวชนและครอบครัว

 

อำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2553

มาตรา 73 เมื่อเด็กหรือเยาวชนมาอยู่ต่อหน้าศาล ให้ศาลตรวจสอบว่าเป็นเด็กหรือเยาวชน ซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิดหรือไม่การจับและการปฏิบัติต่อเด็กหรือเยาวชนเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หากการจับเป็นไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ปล่อยตัวเด็กหรือเยาวชนไป ถ้าเด็กหรือเยาวชนยังไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งให้และเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเด็กหรือเยาวชนศาลอาจมีคําสั่งให้มอบตัวเด็กหรือเยาวชนให้แก่บิดา มารดา ผู้ปกครอง บุคคลหรือองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วย หรือบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้ดูแลเด็กหรือเยาวชนในระหว่างการดําเนินคดีโดยกําหนดให้บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่นําตัวเด็กหรือเยาวชนนั้นไปพบพนักงานสอบสวนหรือพนักงานคุมประพฤติหรือศาล แล้วแต่กรณี

มาตรา 74 ก่อนมีคําสั่งควบคุมหรือคุมขังเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิดหรือ ซึ่งเป็นจําเลยทุกครั้ง ให้ศาลสอบถามเด็กหรือเยาวชนหรือที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนนั้นว่าจะมีข้อคัดค้านประการใดหรือไม่และศาลอาจเรียกพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการมาชี้แจงความจําเป็นหรืออาจเรียกพยานหลักฐานมาไต่สวนเพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้

มาตรา 75 ในการแจ้งข้อกล่าวหาและสอบปากคําเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิดจะต้องมีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าเด็กหรือเยาวชนมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคําของเด็กหรือเยาวชนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ทั้งนี้เมื่อคํานึงถึงอายุ เพศ และสภาพจิตของเด็กหรือเยาวชนซึ่งต้องหาว่ากระทําความผิดแต่ละราย

มาตรา 108 การพิจารณาคดีในศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวให้กระทําเป็นการลับ และเฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีเท่านั้นมีสิทธิเข้าฟังการพิจารณาคดีได้ซึ่ง

ได้แก่

   (1) จําเลย ที่ปรึกษากฎหมายของจําเลย และผู้ควบคุมตัวจําเลย

   (2) บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจําเลยอาศัยอยู่ด้วย

   (3) พนักงานศาล และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร

   (4) โจทก์และทนายโจทก์

   (5) พยาน ผู้ชํานาญการพิเศษ และล่าม

   (6) พนักงานคุมประพฤติหรือพนักงานอื่นของสถานพินิจ

   (7) บุคคลอื่นที่ศาลเห็นสมควรอนุญาต

มาตรา 120 ในศาลที่มีอํานาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว จําเลยจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้แต่ให้จําเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทํานองเดียวกับทนายความได้ในกรณีที่จําเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้

#1 โดย: ทราน [IP: 182.232.202.xxx]
เมื่อ: 2020-10-03 11:59:49
โทไปก็ไม่มีคนรับ
#2 โดย: รัศนีมีลา [IP: 171.101.102.xxx]
เมื่อ: 2020-11-10 20:43:17
ดิฉันอยากถามเรื่องกฏหมายของเด็กอายุ14ปีค่ะ.คำว่าวักสอง.ศาลไม่ต้องแจ้งกับผู้ปกครองให้รับรู้ใช่หรือไม่ค่ะ.โดยทึ่ให้เด็กรับโทษ ด้วยคำว่าวักสอง.โดยไม่ให้เด็กได้รับโอกาสเลย.
#3 โดย: ที [IP: 182.232.36.xxx]
เมื่อ: 2023-01-26 06:41:16
เด็กทำผิดหลายครั้ง ตั้งแต่ยังไม่ 18 จนกระทั่งเปิน 18 อย่างนี้ขึ้นศาลเด็กไหมครับ
#4 โดย: ที [IP: 182.232.36.xxx]
เมื่อ: 2023-01-26 06:42:03
เด็กทำผิดหลายครั้ง ตั้งแต่ยังไม่ 18 จนกระทั่งเกิน 18
อย่างนี้ขึ้นศาลเด็กไหมครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,376