หลักกฎหมาย การฟ้องหย่าสามีชาวต่างชาติ

โดย: ทีมงานทนายThanulegal [IP: 110.169.11.xxx]
เมื่อ: 2018-03-09 22:29:51
การฟ้องหย่า กับหลักว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย

ปัจจุบัน มีคดีที่เป็นปัญหาข้อพิพาท ระหว่างหญิงไทยกับสามีชาวต่างชาติเป็นจำนวนมาก

ทั้งการฟ้องหย่า การฟ้องเพื่อขอให้รับรองบุตร

ทนายความส่วนใหญ่หลงลืมไปว่า นอกจากจะต้องพิจารณาหลักกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ยังต้องมีข้อพิจารณาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481

ทนายความหรือบุคคลทั่วไปชอบคิดคล้ายกันว่า ชายหญิงที่จดทะเบียนสมรสในประเทศไทย เวลาฟ้องหย่ากันต้องใช้กฎหมายไทย ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากหลักกฎหมายดังกล่าว

บทความนี้ขอเสนอแนะหลักเกณฑ์ในการฟ้องหย่า ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481

มาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้

เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า

จากหลักกฎหมายดังกล่าวมีข้อพิจารณา ดังนี้

(1) การฟ้องหย่า จะต้องมีการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว กล่าวคือ สามีภริยาจะทำการสมรสตามแบบของกฎหมายในประเทศใด หรือตามหลักศาสนาใดก็ได้ ดังนั้น คู่สมรสจะจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายต่างประเทศ หรือจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยก็ตาม ถือว่า มีการสมรสที่ชขอบด้วยกฎหมายอันอยู่ในเงื่อนไขที่จะฟ้องหย่าได้

(2) เมื่อคู่สมรสฝ่ายใด ยื่นฟ้องต่อศาลไทย เป็นหน้าที่ของฝ่ายนั้นต้องมีภาระการพิสูจน์ให้ได้ว่า ตามกฎหมายแห่งสัญชาติสามี(ซึ่งมิใช่ประเทศไทย) เมื่อมีการจดทะเบียนสมรสแล้ว คู่สมรสสามารถฟ้องหย่าได้ กล่าวคือ มีเหตุในการที่จะฟ้องหย่าอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งวิธีการพิสูจน์ต้องคัดลอกกฎหมายแห่งสัญชาติสามี พร้อมคำแปล เสนอศาลไทย

(3) หากผู้ยื่นฟ้องไม่สามารถพิสูจน์ตามข้อ 2 ได้ ศาลไทยต้องพิพากษายกฟ้อง เพราะปัญหาดังกล่าว เป็นเรื่องของอำนาจฟ้อง และหลักกฎหมายของมาตรา 27 เป็นบทตัดอำนาจของศาลไทย

(4) ศาลไทยจะอ้างหลักของมาตรา 8 ในกรณีที่จะต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับ ถ้ามิได้พิสูจน์กฎหมายนั้นให้เป็นที่พอใจแก่ศาล ให้ใช้กฎหมายในแห่งประเทศสยามมาใช้บังคับในเรื่องฟ้องหย่าไม่ได้ เพราะหลักของมาตรา 8 เป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกล่าวอ้างกฎหมายของต่างประเทศขึ้น เพื่อประโยชน์ของตน ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ถึงความมีอยู่ของกฎหมายต่างประเทศ มิฉะนั้นแล้วต้องใช้กฎหมายไทยใช้บังคับในเรื่องนั้นๆ เช่น กล่าวอ้างว่า ตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามหลักกฎหมายประเทศอังกฤษ ผู้กล่าวอ้างต้องพิสูจน์ถึงหลักกฎหมายดังกล่าว หากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลไทยจะใช้หลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชน์ มาตรา 1713 ขึ้นพิจารณา

อ้างอิง ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรี


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 194,138