แปลงหนี้ใหม่

การแปลงใหม่หนี้

หลักเกณฑ์

1 มีหนี้เดิมที่คู่สัญญา ประสงค์จะให้ระงับไปอยู่ก่อน : แล้วบังคับบังคับกันตามหนี้ใหม่ ฉะนั้น หากไม่มีหนี้เดิม ก็จะแปลงหนี้ใหม่ไม่ได้

2 ทำสัญญาแปลงหนี้เดิมเป็นหนี้ใหม่ : คู่สัญญาที่เกี่ยวข้องต้องแสดงเจตนาร่วมกัน เพียงลูกหนี้ฝ่ายเดียวยอมทำสัญญาให้แก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการรับสภาพหนี้ ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่

3 มีการเปลี่ยนสาระสำคัญของหนี้เดิม : เช่น การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ เปลี่ยนตัวลูกหนี้ เปลี่ยนมูลหนี้ เปลี่ยนวัตถุแห่งหนี้ เปลี่ยนทรัพย์ เปลี่ยนเงื่อนไข เป็นต้น

4 หนี้ใหม่เกิดขึ้นแทนหนี้เดิม : หนี้เดิมระงับ รับผิดตามหนี้ใหม่

 

อายุความ : 10 ปี

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : คดีแปลงหนี้ใหม่ อายุความ 10 ปีนับแต่วันทำสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2538

   กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้วต่อมาหนี้ขาดอายุความภายหลังจากนั้นลูกหนี้จึงได้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือจำเลยไม่เคยเป็นหนี้โจทก์มาก่อน การที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ ตามมาตรา 193/35 แต่กรณีเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการ เปลี่ยนตัวลูกหนี้จากบริษัทอื่นมาเป็นจำเลย

   การฟ้องคดีตาม บันทึกข้อตกลงแปลงหนี้ใหม่ดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามมาตรา 193/30

 

ประเด็น : สัญญาแปลงหนี้ใหม่ มิใช่ตราสาร จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2507

   การแปลงหนี้เงินกู้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ตามมาตรา 350 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น สัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ ไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากรซ้ำอีก

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 349 เมื่อคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ไซร้ ท่านว่าหนี้นั้นเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยแปลงหนี้ใหม่

   ถ้าทำหนี้มีเงื่อนไขให้กลายเป็นหนี้ปราศจากเงื่อนไขก็ดี เพิ่มเติมเงื่อนไขเข้าในหนี้อันปราศจากเงื่อนไขก็ดี เปลี่ยนเงื่อนไขก็ดี ท่านถือว่าเป็นอันเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้นั้น

   ถ้าแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติทั้งหลายแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยโอนสิทธิเรียกร้อง

มาตรา 350 แปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่

มาตรา 351 ถ้าหนี้อันจะพึงเกิดขึ้นเพราะแปลงหนี้ใหม่นั้นมิได้เกิดมีขึ้นก็ดี ได้ยกเลิกเสียเพราะมูลแห่งหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันมิรู้ถึงคู่กรณีก็ดี ท่านว่าหนี้เดิมนั้นก็ยังหาระงับสิ้นไปไม่

มาตรา 352 คู่กรณีในการแปลงหนี้ใหม่อาจโอนสิทธิจำนำหรือจำนองที่ได้ให้ไว้เป็นประกันหนี้เดิมนั้นไปเป็นประกันหนี้รายใหม่ได้ เพียงเท่าที่เป็นประกันวัตถุแห่งหนี้เดิม แต่หลักประกันเช่นว่านี้ ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้ให้ไว้ไซร้ ท่านว่าจำต้องได้รับความยินยอมของบุคคลภายนอกนั้นด้วยจึงโอนได้

มาตรา 193/30 อายุความนั้น ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้มีกำหนด 10 ปี

 

ค่าบริการว่าความ แปลงหนี้ใหม่

รูปแบบคดี

ราคา (เริ่มต้น)

 ♦ ยื่นฟ้อง / ต่อสู้คดี

-X-

 ♦ เจรจาไกล่เกลี่ย

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   


ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,920