การคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพในคดีอาญา

การคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพในคดีอาญา

หมายถึง การให้ความรู้ ทางกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทุกคดี เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทั้งฝ่ายผู้ต้องหา จำเลย ผู้เสียหาย พยาน โดยผู้พิพากษาจะเป็นผู้ชี้แจ้งให้ฟัง

 

รายการที่ควรมีการให้ความรู้แก่จำเลย

1. องค์ประกอบความผิด ลักษณะความผิดว่าเป็นความผิดอันยอมความได้หรือไม่ ลักษณะการกระทำความผิด เช่น ตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ ความผิดกี่กรรม กี่กระทง (ป.วิ.อาญา มาตรา 165, 172)

2. สิทธิที่จะขอให้ศาลตั้งทนายความ (ป.วิ.อาญา มาตรา 8)

3. การปล่อยชั่วคราว (ป.วิ.อาญา มาตรา 106)

4. การบรรเทาโทษ เช่น การชดใช้ค่าเสียหาย การชำระหนี้บางส่วน การกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อเป็นการบรรเทาผลร้ายจากการกระทำของจำเลย การรอการกำหนดโทษ และการรอการลงโทษ (ป.อ มาตรา 51 ถึง 58)

6. เหตุเพิ่มโทษ ลดโทษ บวกโทษ นับโทษต่อ (ป.อ. มาตรา 51ถึง 58)

7. พฤติการณ์ที่มีส่วนในการกำหนดโทษ

8. สิทธิในการอุทธรณ์ ฏีกา (ป.วิ.อาญา มาตรา 193, 216)

9. ระยะเวลาในการดำเนินคดี ขั้นตอนการดำเนินคดีตั้งแต่การสั่งฟ้องของพนักงานอัยการ

10. สิทธิของนักโทษเด็ดขาดในกรณีคดีถึงที่สุด ตามพ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2479

 

รายการสิทธิของผู้เสียหาย

1. สิทธิในการร้องทุกข์และถอนคำร้องทุกข์ (ป.วิ.อาญา มาตรา 3, 124, 126)

2. สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาได้ด้วยตนเองและถอนฟ้องคดีอาญา ( ป.วิ.อาญา มาตรา 3, 35)

3. สิทธิในการเป็นโจทก์ฟ้องและถอนฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา (ป.วิ.อาญา มาตรา 3, 40, 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 175)

4. สิทธิในการเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ (ป.วิ.อาญา มาตรา 30)

5. สิทธิในการยอมความในคดีความผิดต่อส่วนตัว (ป.วิ.อาญา มาตรา 35)

6. สิทธิที่จะยื่นคำร้องในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ โดยขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 41/1)

   ในกรณีที่ผู้สียหายยื่นคำร้องตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 41/1 แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษาให้ส่งหมายนัดไปยังผู้เสียหายด้วย และหากศาลพิพากษายกฟ้องคดีอาญา หรือพิพากษาให้ค่าเสียหายไม่เต็มตามคำขอ ให้แจ้งสิทธิในการอุทธรณ์คำร้องในส่วนแพ่งด้วย

7. สิทธิที่จะไม่ต้องตอบคำถาม ซึ่งโดยตรงหรืออ้อมอาจจะทำให้ผู้เสียหายในฐานะพยานถูกฟ้องคดีอาญา (ป.วิ.อาญา มาตรา 24)

8. สิทธิให้จัดหาล่ามหรือล่ามภาษามือ (ป.วิ.อาญา มาตรา 13)

9. ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์หรือเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการมีสิทธิอุทธรณ์หรือฏีกาได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 193, 216)

10. สิทธิตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การของตนในชั้นพนักงานสอบสวนหรือเอกสารประกอบคำให้การของตน เมื่ออัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว (ป.วิ.อาญา มาตรา 8)

11. สิทธิคัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย (ป.วิ.อาญา มาตรา 108/2)

#1 โดย: นายสมพล ถนอมจิต [IP: 125.26.1.xxx]
เมื่อ: 2023-03-29 19:52:57
การคุ้มครองสิทธิคือ
#2 โดย: Jeerapongdang [IP: 171.5.6.xxx]
เมื่อ: 2023-08-30 12:01:38
ยื่นคำร้องเรียกค่าสินไหมทดแทน ป.วิ.อาญา มาตรา 44/1 รึป่าวครับ อันนี้น่าจะพิมผิดนะตรับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,525