คดีแรงงาน / Labor case

คดีแรงงาน #ทนายคดีแรงงานThanuLaw

คือ ข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เกี่ยวกับสัญญาจ้างแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง กฎหมายคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เลิกจ้างไม่เป็นธรรม จัดหางาน ประกันสังคม เงินทดแทน อุทธรณ์คำวินิจฉัยเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน เป็นต้น

องค์คณะ : ผู้พิพากษาศาลแรงงาน ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง

การพิจารณาคดี : ระบบไต่สวน

ศาลชั้นต้น : ศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานภาค 1-9

ค่าขึ้นศาล : คดีแรงงานไม่เสียค่าฤชาธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น ไม่ว่าโจทก์จะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 27) รวมทั้งไม่เสียค่าทนายความใช้แทน ด้วย

รูปแบบการดำเนินคดี (ต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง จะทำพร้อมกันไม่ได้) :

1. ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานโดยตรง หรือ

2. ยื่นข้อร้องเรียนต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่

การยื่นคำให้การ : ทำเป็นหนังสือก่อนวันนัด (พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 37)

อุทธรณ์ ต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่ง โดยยื่นได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และคดีถึงที่สุดในชั้นศาลอุทธรณ์ ตามพ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน หมวด 4 อุทธรณ์ มาตรา 54

ฎีกา : จะต้องได้ขออนุญาตฎีกา โดยให้ยื่นคำร้องพร้อมคำฟ้องฎีกาต่อศาลแรงงานชั้นต้น ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์

 

นายจ้างเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ม.123 : ต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง และต้องวางเงินต่อศาล ตามคำสั่งให้ครบถ้วนก่อน (สามารถขอขยายได้ตามดุลพินิจของศาล)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542

   โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 124 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้วถ้านายจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่นำคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว คำสั่งนั้นจึงถึงที่สุดตามมาตรา 125 จำเลยจะดำเนินการในศาลแรงงานในปัญหาดังกล่าวซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้

 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2551

   การวางเงินต่อศาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติที่บังคับให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลต้องปฏิบัติ เพื่อให้เป็นการฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่มีหน้าที่ต้องสั่งหรือเตือนให้นายจ้างที่เป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาลวางเงินดังกล่าว

   โจทก์ผู้เป็นนายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่ออก ตามมาตรา 124 โดยไม่วางเงินที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น เป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 125 วรรคสาม โจทก์จึงฟ้องคดีต่อศาลไม่ได้

 

อายุความคดีแรงงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12

อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ได้แก่

ค่าชดเชย (มาตรา 118)

ค่าชดเชยพิเศษทุกจำนวน (มาตรา 120, 121, 122)

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

เงินบำเหน็จเกษียณอายุ

เงินประกันการทำงาน

ค่าปรับตามสัญญาจ้าง

อายุความ 5 ปี ตามอาญา มาตรา 95(4) โดยอ้างอิงโทษตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 144 ที่จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ได้แก่

ค่าล่วงเวลา (มาตรา 61)

ค่าทำงานในวันหยุด (มาตรา 62, 64)

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (มาตรา 63, 64)

ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี (มาตรา 67)

ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (มาตรา 70)

ค่าจ้างกรณีนายจ้างให้ลูกจ้างเดินทางไปทำงานท้องที่อิ่น (มาตรา 71, 72)

ค่าจ้างตามอัตราขั้นต่ำ (มาตรา 90)

ทายาทลูกจ้างเรียกค่าจ้าง

อายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (8), (9) ได้แก่

ค่าจ้างตามสัญญาจ้าง (มาตรา 5)

ค่าจ้างสำหรับวันหยุดประจำปี (มาตรา 56, 67, 71, 72)

เงินที่จ่ายแทนค้าจ้าง ระหว่างหยุดกิจการ (มาตรา 75) ระหว่างหยุดใช้เครื่องจักร (มาตรา 105) หรือระหว่างพักงาน (มาตรา 116, 117)

ค่าล่วงเวลา (มาตรา 5, 61, 65, 72, 74)

ค่าทำงานในวันหยุด (มาตรา 5, 62, 64, 66, 74)

ค่าล่วงเวลาในวันหยุด (มาตรา 5, 63, 64, 65, 72, 74)

ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก

เงินโบนัส

 

อายุความ คดีฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2512

   กรมป่าไม้ทำสัญญาจ้างผู้รับจ้างเฝ้ารักษาไม้ของกลางซึ่งเจ้าพนักงานป่าไม้จับได้และยังอยู่ที่ตอที่ถูกตัดโค่นในป่าระบุชื่อสัญญาว่า 'สัญญาจ้างเฝ้ารักษา' มีข้อสัญญาว่าผู้รับจ้างยอมรับเฝ้ารักษาไม้ของกลางโดยคิดอัตราค่าจ้างเป็นรายท่อนต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญาถ้าไม้ซึ่งรับจ้างเฝ้ารักษาขาดหายหรือเป็นอันตรายผู้รับจ้างยอมให้ปรับไหมเป็นรายท่อนตามจำนวนที่สูญหายหรือเป็นอันตราย ระหว่างเวลาที่ผู้รับจ้างรับผิดชอบเฝ้ารักษากรมป่าไม้ผู้จ้างอาจขนไม้ของกลางทั้งหมดหรือแต่บางส่วนไปจากที่เดิมในเวลาใดๆ ก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้รับจ้างทราบและทำใบรับไม้ให้ไว้ สัญญานี้เป็นสัญญาจ้างแรงงานมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ เพราะอำนาจการครอบครองไม้ของกลางยังอยู่แก่กรมป่าไม้ผู้จ้างผู้รับจ้างเพียงแต่เฝ้ารักษาระวังมิให้ผู้ใดมาลักหรือเกิดภัยพิบัติไม้ของกลางยังอยู่ในป่าตามเดิม ผู้รับจ้างมิได้ชักลากไปเก็บไว้ในความอารักขาของตน

   สิทธิเรียกร้องค่าปรับตามสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายมิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นโดยเฉพาะจึงอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีกำหนดสิบปี

 

ดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม ม.9

หากนายจ้างไม่คืนหลักประกัน ไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ภายในกำหนดเวลา

กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัด ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

หากไม่คืน เป็นไปโดยจงใจหรือไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องเสียเงินเพิ่มอีกในอัตราร้อยละ 15 ของทุกระยะเวลา 7 วัน จนกว่าจะจ่ายครบ

 

ขั้นตอนกระบวนพิจารณาคดีในศาลแรงงาน

1. ใช้ระบบไต่สวน ศาลจะเป็นผู้ถามคำถามเอง ไม่มีถามค้าน-ถามติง ทนายทั้งสองฝ่ายหรือคู่ความ ถ้าต้องการจะถามเพิ่มเติมต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน หากศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลมีอำนาจตัดพยานได้เลย ตามเจตนารมณณ์ของกฎหมายแรงงาน คือ คดีต้องไม่เยิ่นเย้อ

2. ฉะนั้น จำเป็นต้องส่งบันทึกคำเบิกความให้ศาลและคู่ความอีกฝ่าย ก่อนวันนัดสืบพยาน ไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ศาลตรวจดูพยาน เพื่อเตรียมไต่สวน

3. หัวใจของการถามเพื่อได้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ถามเพื่อทำลายน้ำหนัก

4. พยานสามารถเข้ามาฟังการพิจารณาพร้อมกันได้ (ไม่ต้องรอนอกห้องพิจารณาคดี)

5. แม้จะพิจารณาไปแค่ไหนแล้ว ศาลสามารถให้ทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยได้เสมอ

6. ผู้พิพากษาสมทบ(จากฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง) นำเสนอความเห็นในมุมมองของฝ่ายตนเองเท่านั้น ส่วนข้อกฎหมายผู้พิพากษาศาลแรงงานเป็นผู้กำหนดเอง

 

บริการที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน ประจำบริษัท

เงื่อนไขการบริการ

1. ค่าจ้างชำระเป็นรายเดือนๆ ละ 8,000 บาท โดยวิธีการและเงื่อนไขการชำระค่าจ้าง คือ การจ่ายชำระค่าบริการของเดือนนั้นๆ จะชำระในวันเข้าร่วมประชุมร่วมกับบริษัท 

2. เซ็นสัญญาจ้างขั้นต่ำ คราวละ 3 เดือน

3 เข้าร่วมประชุมร่วมกับบริษัท ณ สำนักงานที่ตั้ง เดือนละ 1 ครั้ง

4. ให้บริการคำปรึกษาทางด้านกฎหมายแรงงาน และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องในลักษณะนายจ้างกับลูกจ้าง

5. ตรวจสอบ และร่างเอกสาร สัญญา และหนังสือสำคัญต่างๆ(ภาษาไทย)

6. เสนอแนะข้อกฎหมาย ทำความเห็นในคดีเบื้องต้น

7. ช่วงทางการให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ โซเชียลมีเดีย 

8. ค่าจ้างเป็นที่ปรึกษากฎหมายดังกล่าวข้างต้น ไม่รวมถึงการจ้างว่าความในคดีต่างๆในศาล การรับรองเอกสาร Notary Services Attorney

9. กรณีที่สัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามอายุสัญญา และหากทางบริษัทต้องการจะต่ออายุสัญญาหรือทำสัญญาต่อกันขึ้นใหม่ ให้บอกกล่าวทนายความล่วงหน้าก่อนวันครบกำหนดสิ้นสุดของสัญญาไม่น้อยกว่า 15 วัน

10. ทนายตกลงยินยอมให้นิติบุคคลหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด

 

ค่าบริการว่าความ คดีแรงงาน

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

♦ ว่าความในชั้นศาล

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการทุกวัน เวลา 7.00 - 18.00 น.

สอบถามได้ที่ ทนายณัฐวุฒิ โทร 096 2602711 (Click to call)

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

 

 ตัวอย่าง รายงานกระบวนพิจารณาคดีแรงงาน นัดพิจารณาและกำหนดประเด็นข้อพิพาท

 

 


  • ค่าชดเชยเลิกจ้างคดีแรงงาน.JPG
    การจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118 #ทนายคดีแรงงานThanuLaw #ฟ้องเรียกค่าชดเชยThanuLaw นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง โดยคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้าย ต...

  • ค่าตกใจคดีแรงงาน #ฟ้องเรียกค่าบอกเลิกล่วงหน้าThanuLaw #ทนายคดีแรงงานThanuLaw สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือที่รู้จักกันว่า ค่าตกใจ...!!! เป็นกรณี เมื่อมีการเลิกจ้างอันเนื่องจาก...

  • ถาม - ตอบ ความหมายคำว่า "เลิกจ้าง Vs ลาออก"#ทนายคดีแรงงานThanuLaw KeyWord หลักเกณฎ์การพิจารณาเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 สัญ...

  • คำถาม วันหยุดตามกฎหมายแรงงาน มีวันอะไรบ้าง ตอบ1. วันหยุดประจำสัปดาห์ 2. วันหยุดตามประเพณี 3. วันหยุดพักผ่อนประจำปี 4. วันหยุดอื่นๆที่นายจ้างกำหนด คำถามวันหยุดตามประเพณีตามกฎหมา...

  • ข้อกฎหมายเงินประกันการทำงานThanuLaw.PNG
    เงินประกันการทำงาน #ทนายคดีแรงงานThanuLaw พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 ภายใต้บังคับมาตรา 51 วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกัน...

  • สิทธิเบื้องต้นของลูกจ้างวันลา/ค่าจ้างตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 1. เวลาทำงานปกติทั่วไป ไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมไม่เกินสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมง : ยกเว้นบางอาชีพตามกฎกระทรวงฉบ...

  • พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ในพระราชบัญญัตินี้ “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการ...

  • การโยกย้ายงาน หลักการ 1. มีเหตุจำเป็นและสมควร 2. เป็นการบริการที่เหมาะสม 3. ไม่ได้เป็นการกลั่นแกล้ง 4. ตำแหน่ง ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ ไม่ตำกว่าเดิม เว้นลูกจ้างยินยอม 5. ต้องไม่ระบุต...

  • เลิกจ้างไม่เป็นธรรม.JPG
    เลิกจ้างไม่เป็นธรรม Unfair Dismessal#ทนายคดีแรงงานThanuLaw #ทนายคดีเลิกจ้างไม่เป็นธรรมThanuLaw พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณี...

  • ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน #ทนายคดีแรงงานThanuLaw ในกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน หากนายจ้างต้องการเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตาม ม.125ต้องนำคดีไป...

  • คำแถลง ขอวางเงินเพิกถอนคำสั่งฯ ข้อ 1. คดีนี้ โจทก์ได้ยื่นฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อขอเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 กำหนดให้โจท...

  • คำถาม 1 : กรณีลูกจ้างเกษียณอายุ ไม่ว่าจะเป็นการเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือเป็นการเกษียณอายุตามที่นายจ้างกำหนดไว้ (ในระเบียบหรือนโยบายเกี่ยวกับการจ้างหรือในข้อบังค...

  • -อยู่ระหว่างปรับปรุงเนื้อหา-
#1 โดย: ทนายแรงงาน [IP: 110.170.246.xxx]
เมื่อ: 2022-05-27 10:11:10
ที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน รับว่าต่างอรรถคดีทุกศาลทั่วราชอาณาจักร รับแก้ต่าง เลิกจ้างไม่เป็นธรรม <a href="https://www.paiboonniti.com/">ทนายแรงงาน</a> รับว่าความคดีแรงงาน ถามตอบปัญหากฏหมายแรงงาน รับเป็นที่ปรึกษาด้านแรงงาน เพราะคนทำงาน จึงควรรู้เล่ห์เหลี่ยมกฎหมาย

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,724