สรุปประเด็น ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีซื้อขายห้องชุด กรณีผู้จะซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญา

โดย: ทีมงานทนายThenulegal [IP: 184.22.246.xxx]
เมื่อ: 2019-04-18 10:03:03
คำฟ้อง ให้จำเลย(ผู้ขาย)ชำระเงินคืน รวม 1,200,000 บาท อันประกอบด้วย มัดจำ 50,000 บาท เงินทำสัญญา 350,000 บาท ผ่อนดาวน์ 800,000 บาท

กำหนดวันนัดโอนกรรมสิทธิ์ 1 ตุลาคม 2558 – 15 พฤศจิกายน 2558

ล่วงเลยระยะเวลาแล้ว

โจทก์ไม่เคยคัดค้านว่าไม่ตรงตามกำหนด ไม่เคยบอกเลิกสัญญา จึงไม่ถือเอากำหนดเวลาชำระหนี้เป็นสาระสำคัญ

กลับให้แก้ไขรายการชำรุด ถึง 8 ครั้ง แสดงว่าได้ยินยอม การไม่ทักท้วง แม้ผิดแบบตามสัญญา ถือว่าไม่ติดใจ



หลังวันนัดโอนกรรมสิทธิ์

จำเลยก็ไม่ได้ทักท้วง แต่กลับใช้สิทธิริบเงิน ถือว่าต่างฝ่ายต่างเลิกกัน

ต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม ตามป.พ.พ. มาตรา 391 วรรค 1

จำเลยมีสิทธิริบเงินจอง 50,000 บาท เงินทำสัญญา 350,000 บาท

โดยถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ให้แก่จำเลยเป็นเงินมัดจำ และเป็นหลักฐานว่าทำสัญญา ตามป.พ.พ.มาตรา 373

แต่เงินดาวน์หรือเงินค่างวด 800,000 บาท แม้สัญญาให้โจทก์มีสิทธิริบ ถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ศาลมีอำนาจลดตามป.พ.พ.มาตรา 383

จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความเสียหายเพียงใด ศาลพิเคราะห์ให้ริบ 40%



เลยวันนัดโอน

ทั้ง 2 ไม่ดำเนินการใดๆ เพื่อปฏิบัติตามสัญญา โดยผู้ขายไม่ทักท้วง แต่ใช้สิทธิริบเงิน

ผู้ซื้อไม่ทำอะไรเลย ถือว่าบอกเลิก ต้องคืนสถานะเดิม มาตรา 391 วรรค 1

โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายตามฟ้อง

ค่าเสียหายอย่างใด นำสืบ





Note

ถ้าผู้จะขายก่อสร้างล่าช้า ผู้จะซื้อควรแจ้งบอกเลิก

หากยังรับตรวจ และให้แก้ไขรายการบกพร่อง ไม่ถือเอากำหนดเวลามาชำระหนี้ของจำเลยเป็นสำคัญ

ผู้ซื้อไม่แจ้งแก้ไขตามในสัญญา (ถ้าเข้าใจผิด) ถือว่ารับ ปฏิบัติตามสัญญาโดยตลอดมา

กรณีต่างฝ่ายต่างไปที่สนง.ที่ดิน

การไม่ยอมโอน ถือว่าผู้จะซื้อผิด

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 191,963