คนต่างด้าวซื้อที่ดินในไทย

โดย: ทีมงานทนายThanulegal [IP: 110.169.10.xxx]
เมื่อ: 2017-06-01 00:47:28
คนต่างด้าวต้องการจะซื้อที่ดินในประเทศไทย สามารถทำได้หรือไม่?
#1 โดย: ทีมงานทนายThanulegal [IP: 110.169.10.xxx]
เมื่อ: 2017-06-01 00:50:42
สามารถซื้อได้ โดยต้องดำเนิินการขออนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน ตามระเบียบประมวลกฎหมายที่ดิน
อ้างอิง
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2511
2. ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497
มาตรา 86 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญา ซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย
ภายใต้บังคับ มาตรา 84 คนต่างด้าวดั่งกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการในทางพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสุสาน การกุศลสาธารณะ หรือการศาสนาต้องเป็น ไปตามเงื่อนไข และวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับ อนุญาตจากรัฐมนตรี
มาตรา 87 จำนวนที่ดินที่จะพึงอนุญาตให้ตามความในมาตราก่อน มีกำหนดดังนี้
(1) ที่อยู่อาศัย ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่
(2) ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรม ไม่เกิน 1 ไร่
(3) ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน 10 ไร่
(4) ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่
(5) ที่ใช้เพื่อการศาสนา ไม่เกิน 1 ไร่
(6) ที่ใช้เพื่อการกุศลสาธารณะ ไม่เกิน 5 ไร่
(7) ที่ใช้เพื่อการสุสาน ตระกูลละไม่เกิน 1/2 ไร่
คนต่างด้าวผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดิน เพื่อการอุตสาหกรรม เกินกว่าที่บัญญัติไว้ใน (3) ถ้าเห็นเป็นการสมควร คณะรัฐมนตรี จะขออนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยกำหนด เงื่อนไขก็ได้และให้นำบทบัญญัติ มาตรา 48 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
#2 โดย: ทนายธนู [IP: 58.8.159.xxx]
เมื่อ: 2017-11-02 16:22:04
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2511
สัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างคนไทยกับคนต่างด้าวนั้น หาเป็นโมฆะหรือโมฆียะไม่ เพราะกฎหมายหาได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเสียทีเดียวไม่คนต่างด้าวซึ่งเป็นคนซื้ออาจดำเนินการให้ได้รับโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายนั้นได้ เช่นทำการขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ แต่คดีนี้ทางพิจารณาไม่ปรากฏว่าโจทก์(คนต่างด้าว)ได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนด และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ได้มาซึ่งที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินแต่ประการใดกรณีย่อมไม่อาจคาดหมายได้ว่าโจทก์อยู่ในฐานะจะสามารถซื้อที่ดินจากจำเลยได้อยู่ ๆ โจทก์ก็มาฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินให้โดยโจทก์ยังไม่มีสิทธิที่จะถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ เช่นนี้หากศาลบังคับให้ ก็เป็นทางให้โจทก์ได้ที่ดินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยยังไม่โอนที่พิพาทให้โจทก์ ย่อมจะถือว่าจำเลยผิดสัญญาหาได้ไม่และโจทก์จะเรียกเบี้ยปรับจากจำเลยก็ไม่ได้เช่นกัน (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2511)

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 193,796