FAQs

คำถาม 1 : กรณีลูกจ้างเกษียณอายุ ไม่ว่าจะเป็นการเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือเป็นการเกษียณอายุตามที่นายจ้างกำหนดไว้ (ในระเบียบหรือนโยบายเกี่ยวกับการจ้างหรือในข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน) นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยไหม

ตอบ ถือว่าเป็น “การเลิกจ้าง” ดังนั้นนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

 

คำถาม 2 : กรณีที่มิได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า 60 ปี ลูกจ้างต้องทำอย่างไร

ตอบ ลูกจ้างที่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุไว้ โดยแสดงเจตนา ด้วยวาจาหรือแจ้งเป็นหนังสือ ต่อนายจ้าง เมื่อลูกจ้างแสดงเจตนาแล้วก็จะมีผลเป็นการเกษียณอายุเมื่อครบ 30 วันนับแต่วันแสดงเจตนา และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามอัตราที่ได้กำหนดไว้ ตามมาตรา 118/1

 

คำถาม 3 : ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ให้จำนวนเงินน้อยกว่า มาตรฐานขั้นต่ำ อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อย ได้ไหม

ตอบ ได้ แต่งานไกล่เกลี่ยจะเลี่ยงคำ โดยใช้คำว่า "เงินช่วยเหลือ" แทน

อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12352/2558

   การระบุวัน เดือน ปีในหนังสือมอบอำนาจเป็นการมุ่งหมายให้ทราบว่ามีการมอบอำนาจเมื่อใดเพื่อแสดงว่าขณะตัวแทนทำการนั้นตัวแทนมีอำนาจหรือไม่

   แม้หนังสือมอบอำนาจจะไม่ได้ลงวัน เดือน ปี ส. ผู้ลงลายมือชื่อในคำฟ้องในฐานะเป็นผู้แทนโจทก์โดยแนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้อง ซึ่งหนังสือมอบอำนาจระบุว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. ฟ้องจำเลยโดยให้มีอำนาจถอนฟ้องและประนีประนอมยอมความ จึงเป็นที่เข้าใจอยู่ในตัวว่าโจทก์มอบอำนาจก่อนหรืออย่างน้อยในวันที่ ส. ฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางนั้นเอง ส. จึงมีอำนาจฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาตามที่โจทก์ระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจ การที่ ส. แถลงขอถอนฟ้องซึ่งกระทำได้ตามหนังสือมอบอำนาจและศาลแรงงานกลางอนุญาตจึงไม่ใช่การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

   ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางที่ระบุว่า "ไกล่เกลี่ยแล้ว" หมายถึง ไกล่เกลี่ยโดยองค์คณะผู้พิพากษาที่ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคือผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17

   การไกล่เกลี่ยตามมาตรา 38 วรรคหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักให้คดีระงับโดยนายจ้างและลูกจ้างมีความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้มีความสัมพันธ์กันต่อไป โดยการตกลงหรือประนีประนอมยอมความนั้นต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย แต่หากนายจ้างกับลูกจ้างไม่สมัครใจที่จะให้มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างลูกจ้างกันต่อไป บทบัญญัตินี้ก็ไม่ได้ห้ามมิให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเป็นอย่างอื่น การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วผู้รับมอบอำนาจโจทก์กับผู้รับมอบอำนาจจำเลยตกลงกันโดยฝ่ายจำเลยตกลงจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์และโจทก์ถอนฟ้องซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย การไกล่เกลี่ยของศาลแรงงานกลางจึงไม่ใช่กระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ

   ในชั้นไกล่เกลี่ยศาลแรงงานกลางยังไม่ได้รับฟังข้อเท็จจริงอันเป็นฐานที่จะวินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่เพียงใด เงินที่จำเลยตกลงจ่ายให้โจทก์ระบุชัดเจนว่าเป็น "เงินช่วยเหลือ" ไม่ใช่ค่าชดเชย การที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยจึงไม่ใช่การไกล่เกลี่ยให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับเงินต่ำกว่าค่าชดเชยตามกฎหมาย

 

คำถาม 4 : ลูกจ้างตายอันเนื่องจากการทำงาน ทายาทมีสิทธิเรียกร้องกับนายจ้างอย่างไรบ้าง

ตอบ ตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 ทายาท หรือผู้จัดการศพของลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงิน ดังนี้

   1) ค่าทำศพ เป็นเงินจำนวน 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสูงสุด (ต่อวัน ตามแต่ละพื้นที่)

   2) เงินทดแทน เป็นเงินจำนวนร้อยละ 60 ของค่าจ้างต่อเดือน เป็นระยะเวลา 8 ปี

   3) เงินอื่นๆ หากปรากฏว่าความตายนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนายจ้าง

หลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่า เป็นการตายเนื่องจากการทำงานหรือไม่?

   1) ตายเนื่องจากการทำงานในหน้าที่ตามสัญญาจ้าง

   2) ตายเนื่องจากทำงานตามคำสั่งของนายจ้าง

   3) ตายเนื่องจากการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับนายจ้าง

 

ถาม 5 : นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา (OT) ได้หรือไม่

ตอบ ไม่สามารถบังคับได้

   เว้นแต่ว่าจะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือ งานนั้นต้องมีลักษณะที่ต้องทำต่อเนื่องกันไป หากไม่ทำงานต่อเนื่องไปจะทำให้งานเสียหาย หากนายจ้างฝ่าฝืน มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

   ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 24 ประกอบมาตรา 144

 

ถาม 6 : สัญญากำหนดห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบริษัทคู่แข่งเป็นระยะเวลา 5 ปี บังคับได้หรือไม่ 

ตอบ บังคับได้ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

มาตรา 14/1 สัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างที่ทำให้นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้บังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

อ้างอิง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3580/2561

   สัญญาจ้างที่จำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของจำเลย (ลูกจ้าง) ที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ (นายจ้าง) เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่จำเลยซึ่งเป็นเพียงพนักงานธุรการประสานงานขายพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์นั้น นับว่าทำให้จำเลยผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงเห็นสมควรให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี

#1 โดย: น้อย [IP: 171.97.98.xxx]
เมื่อ: 2020-09-12 18:10:16
ขอปรึกษาไว้ก่อนนะคะ
กรณีลูกจ้างรายนี้คือลุงเค้าอายุ88ปี
แล้วคะที่ทำงานของลุงไม่มีสวัสดิการอะไรให้เลยคะมีแต่ค่าเช่าบ้านให้เดือนละ1000บาท/เดือนยามป่วยก็ใช่บัตร30บาทหรือถ้าค่ารักษาพยาบาลไม่แพงมากก็จะเบิกได้แต่ถ้าค่าแพงไม่แน่ใจว่าเค้าจะช่วยเหลือแบบไหนลุงทำงานที่นี่มา20กว่าปีแล้วคะไม่มีประกันสังคมไม่ค่าอะไรให้เลยพอลุงเค้าจะขอลาออกเพราะช่วงนี้ลุงเค้าร่างกายไม่ค่อยแข็งแรงคะเลยให้ทางลูกโทรไปสอบถามจากกรณีลุงจะลาออกคือลุงต้องแจ้งและเขียนใบลาออกล่วงหน้า1เดือนคะพอถามถึงบำนานเค้ารีบแจ้งมาว่าทาง ร.ร เป็นเอกชลไม่มีบำเน็บบำนานใดๆทั้งสิ้นคือคำถามไม่มีที่จะถามทางนั้นเลยคะแล้วทีนี้ลุงต้องทำอย่างไรบ้างคะขอคำปรึกษาหน่อยนะคะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 193,740