ลงชื่อร่วมในสินสมรส

คดีฟ้องขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันในสินสมรส

ตัวอย่าง รายการทรัพย์สิน

1. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน ห้องชุด เป็นต้น

2. ใบหุ้น หรือหลักทรัพย์ต่างๆ สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

3. สมุดคู่มือรายการรถยนต์ ไม่สามารถขอใส่ชื่อร่วมได้

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : ฟ้องขอให้ใส่ชื่อในโฉนดที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2527

   ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยที่มีเอกสารคือโฉนดเป็นสำคัญ โจทก์ซึ่งเป็นภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดนั้นก็ได้

 

ประเด็น : คดีไม่มีอายุความ ตราบใดที่ยังเป็นสามีภริยากัน ก็สามารถฟ้องคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535

   คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีจึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ป.พ.พ. มาตรา 1475 กำหนดให้สามีหรือภริยาต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์ กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินสินสมรสได้ การพิจารณาว่าทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นทรัพย์สินประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยในระหว่างสมรสในขณะใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม โดยมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น

   สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนด ฉะนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 37 ปีแล้ว แต่เพิ่งนำคดีมาฟ้องก็ตามคดีก็ไม่ขาดอายุความ

 

ประเด็น : ด่างด้าวหากไม่ได้นำสืบว่ามีสิทธิถือครอบกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นการขัดต่อกฎหมายที่ดิน ไม่สามารถกระทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9510/2539

 

ประเด็น : เป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อตาย ทายาทจึงไม่อาจใส่สิทธิแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3715/2548

   โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโฉนดเลขที่ 454 ซึ่งเป็นสินสมรส เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นสามีร้องขอให้ลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในเอกสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 1475 ซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัวของสามีหรือภริยาแล้วแต่กรณี เมื่อโจทก์ถึงแก่กรรมไปแล้ว จึงไม่อาจใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมได้ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตาม คำขอของโจทก์ดังกล่าวพอจะถือได้ว่าขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมครึ่งหนึ่งในฐานะสินสมรสซึ่งโจทก์มีสิทธิกึ่งหนึ่งเฉพาะทรัพย์สินที่คงเหลืออยู่ เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1475 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ ในมาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มีเอกสารเป็นสำคัญ สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้

มาตรา 456 การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ วิธีนี้ให้ใช้ถึงซื้อขายเรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย

   สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่

   บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคา 20,000 บาท หรือกว่านั้นขึ้นไปด้วย

มาตรา 1474 สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สิน

   (1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส

   (2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส

   (3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

   ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. ทำเป็นคำร้องหรือขอฟ้อง ก็ได้

2. ก่อนดำเนินคดี ควรมีหนังสือแจ้งให้จัดกาลงชื่อร่วมในสินสรส โดยทนายความ

3. สามารถนำสืบได้ว่า เงินที่นำมาซื้อเป็นของใคร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) อ้างอิง ฎ.4680/2552

 

ค่าบริการว่าความ คดีขอลงชื่อในสินสมรส

รูปแบบคดี

ราคา (เริ่มต้น)

  ♦ ยื่นคำฟ้อง / ต่อสู้คดี

-X-

  ♦ เจรจาไกล่เกลี่ย

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
#1 โดย: ทนายธนู [IP: 184.22.242.xxx]
เมื่อ: 2019-09-01 14:23:11
สงสัยประเด็นใด สามารถสอบถามได้ หรือต้องการแชร์เพื่อเป็นความรู้ ขอเชิญกันได้เลยครับ
#2 โดย: PP [IP: 223.24.157.xxx]
เมื่อ: 2021-11-10 13:37:37
รบกวนสอบถามค่ะ กรณีหากไม่ได้ ทำหนังสือแจ้งให้จัดกาลงชื่อร่วมในสินสรส โดยทนายความ ก่อน สามารถยื่นฟ้องไเ้เลยหรือเปล่าคะ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,904