สัญญายินยอมหย่า

สัญญาการหย่าโดยความยินยอม #ทนายสัญญายินยอมหย่าThanuLaw

สามีภริยา หากประสงค์จะหย่ากันสามารถทำหนังสือยินยอมหย่าได้ โดยกำหนดข้อตกลงในเรื่องดังนี้

1. การแบ่งทรัพย์สิน

2. การใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์

3. การจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร ค่าศึกษาเล่าเรียน ค่าเลี้ยงชีพอีกฝ้าย

   ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อ และมีพยานไม่น้อยกว่า 2 คน ลงลายมื่อไว้เป็นพยาน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 วรรค 2 หากฝ่ายใดไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องบังคับได้ 

 

เอกสารประกอบหนังสือหย่า

1. บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน

2. Passport พร้อมแปลภาษาไทย

3. ใบสำคัญการสมรส / ทะเบียนสมรส

4. สูติบัตรบุตร

5. เอกสารเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด บัญชีเงินฝาก รายงานจดทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น

6. เอกสารเกี่ยวกับหนี้สินสมรส เช่น สัญญากู้ยืม ใบแจ้งหนี้สินเชื่อ เป็นต้น

7. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อสกุล(ถ้ามี)

8. บัตรประจำตัวประชาชนพยาน 2 คน

 

เขตอำนาจศาล : ศาลเยาวชนและครอบครัว

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น : สัญญามีเงื่อนไขกำหนดไว้ ต้องปฏิบัติตามให้สำเร็จก่อน จึงจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540 

   บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุ หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้ว ถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อน ดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตาม ข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับ โจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้

 

ประเด็น : พยานลงชื่อไม่ครบ 2 คน สัญญาตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 592/2538

   หนังสือหย่ามีพยานลงลายมือชื่อเพียง 1 คน ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 วรรคสอง โจทก์ผู้เป็นภริยาจึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยผู้เป็นสามีให้หย่าขาดจากโจทก์ตามหนังสือดังกล่าวได้

 

ประเด็น : ฝ่ายใดหนึ่งไม่ได้ลงชื่อต่อหน้าพยาน ก็ถือว่าสมบูรณ์แล้ว

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 151/2487

   สามีภริยายินยอมหย่ากันต่อหน้าพยาน 2 คน สามีลงชื่อต่อหน้าพยานทั้งสองคน พยานสองคนนั้นลงชื่อในหนังสือหย่าแล้ว แม้ภริยาลงชื่อเมื่อพยานคนหนึ่งไปเสียแล้ว ดังนี้ก็ถือว่าสมบูรณ์ เพราะกฎหมายมิได้บังคับให้ลงชื่อต่อหน้าพยาน ความประสงค์มีแต่เพียงว่าให้มีพยานลงชื่อในหนังสือนั้นสองคน เป็นพยานในข้อตกลงที่ทำกันนั้น

 

ประเด็น : การทำหนังสือหย่าโดยความยินยอม หากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตาม อีกฝ่ายสามารถฟ้องคดีบังคับได้เลย ไม่จำต้องอ้างเหตุหย่าตามกฎหมาย ป.พ.พ. มาตรา 1516

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533

   การหย่าโดยทำหนังสือหย่ากันเอง มีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้แต่เฉพาะระหว่างโจทก์กับจำเลยเท่านั้น จะอ้างเป็นเหตุให้เสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้ทะเบียนหย่าแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 หากจำเลยไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าเท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามหนังสือหย่า โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 และการฟ้องของโจทก์เช่นนี้ก็เพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนตามาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 คำพิพากษาในส่วนนี้จึงสภาพบังคับได้ ส่วนที่จะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์หรือผู้ได้เสียจะต้องดำเนินการต่อไป

 

ประเด็น : ทำสัญญาหย่า สามารถแก้ไขค่าเลี้ยงชีพในภายหลังได้

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 4685/2540

   หย่าโดยความยินยอมและกำหนดค่าเลี้ยงชีพกันเอง ก็มาขอลดหรือเพิ่มค่าเลี้ยงชีพในภายหลังได้ 

 

ประเด็น : การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว ตามป.พ.พ. มาตรา 1515 เมื่อทำหนังสือสัญญาหย่ากันโดยถูกต้องแล้ว หากฝ่ายใดไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าในภายหลัง อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องบังคับให้ไปจดทะเบียนหย่าได้

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 3838/2528

   สามีภรรยาทำหนังสือยินยอมหย่าขาดจากการเป็นสามีภรรยากันไว้ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1514 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้วเมื่อสามีไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่าให้ภรรยา ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องขอให้บังคับสามีไปจดทะเบียนหย่าได้

 

ประเด็น : สัญญาหย่า ทำเป็นบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2560

   ตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี มีข้อความว่า โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไป จึงได้ตกลงดังนี้ ในเรื่องการหย่านั้น ฝ่ายหญิงจะดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไป โดยมีโจทก์ จำเลย พนักงานสอบสวน และเจ้าพนักงานตำรวจอีกนายหนึ่งลงลายมือชื่อไว้ บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยโดยตรง มีข้อความชัดเจนว่า ทั้งสองไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไป คือต้องการแยกทางกันหรือหย่ากันนั่นเอง แม้มีข้อความในข้อ 2 ว่า ฝ่ายหญิง คือโจทก์จะไปดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไปก็เป็นความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายว่าจะต้องไปดำเนินการฟ้องหย่าต่อกันเท่านั้น ข้อความดังกล่าวมิได้ลบล้างเจตนาที่แท้จริงของทั้งโจทก์และจำเลยที่ไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไปแต่อย่างใด บันทึกดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยประสงค์จะหย่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1514 พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานตำรวจที่ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้เขียนบันทึก เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่ ได้รับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามข้อความในบันทึกดังกล่าว ถือได้ว่าคนทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะพยานผู้ทำบันทึกแล้ว จึงถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย

 

ประเด็น : ตกลงแบ่งสินสมรสตามบันทึกทะเบียนหย่า ถือว่าสมบูรณ์แล้ว แม้ไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14884/2558

   ผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 หย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ป.พ.พ. มาตรา 1532 (ก) บัญญัติให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า ข้อตกลงตามสำเนาบันทึกด้านหลังทะเบียนการหย่าระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ยินยอมยกที่ดินโฉนดเลขที่ 32498 พร้อมสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 6/82 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง เป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามบทมาตราดังกล่าว มิใช่สัญญาให้ทรัพย์สินอันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 525 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้ว ถือว่าทั้งสองฝ่ายได้จัดการแบ่งทรัพย์สินกันเรียบร้อยแล้ว ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจึงเป็นของผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว การที่จำเลยที่ 1 ยังมิได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนของตนให้แก่ผู้ร้อง มีผลเพียงทำให้การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ของผู้ร้องยังไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เท่านั้น แต่สิทธิของผู้ร้องตามสัญญาแบ่งทรัพย์สินที่นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าให้แล้วและผู้ร้องได้ครอบครองทรัพย์เพียงผู้เดียวตลอดมา ทั้งเป็นผู้ชำระหนี้จำนองและไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ผู้ร้องไม่ใช่ผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและโจทก์เป็นเพียงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ซึ่งนำยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้โจทก์เท่านั้น โจทก์มิใช่ผู้รับโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว โจทก์จึงมิใช่บุคคลภายนอกที่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ส่วนของจำเลยที่ 1 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 โจทก์จึงไม่มีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา ผู้ร้องมีสิทธิเรียกร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 1514 การหย่านั้น จะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล

   การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ และมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน

มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนหย่านั้นแล้ว

มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้นไป

   การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว

พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481

ภาค 5 ครอบครัว

มาตรา 26 การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทนายความ

1. สัญญาต้องระบุวัน เวลา และสถานที่จดทะเบียนหย่าให้ชัดเจน ปกป้องกันบ่ายเบี่ยง

2. สิทธิฟ้องบังคับ ภายใน 10 ปี นับตั้งแต่วันผิดนัด

3. เพียงแค่ทำสัญญาหย่า ยังไม่ถือว่าการหย่าสมบูรณ์ตามกฎหมาย ไปมีชู้ยังไม่ได้นะ

 

ค่าบริการว่าความ คดีฟ้องผิดสัญญายินยอมหย่า

รูปแบบคดี

ราคา(เริ่มต้น)

 ♦ ฟ้องบังคับตามสัญญาหย่า

-X-

 ♦ ร่างสัญญายินยอมหย่า

-X-

 

รับว่าความทั่วประเทศ

ยินดีให้คำปรึกษากฎหมาย

เปิดบริการจันทร์ถึงศุกร์ 7.00 - 18.00 น.

ช่องทางการติดต่อ กดที่ไอคอน

   

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า Trustmarkthai
 
 
 
ตัวอย่าง สัญญายินยอมหย่า
 
#1 โดย: ทนายธนู [IP: 184.22.247.xxx]
เมื่อ: 2019-08-03 20:40:43
สงสัยประเด็นใด สามารถสอบถามได้ หรือต้องการแชร์เพื่อเป็นความรู้ ขอเชิญกันได้เลยครับ
#2 โดย: หนึ่ง [IP: 223.24.154.xxx]
เมื่อ: 2019-08-13 11:54:27
สวัสดีคะ ดิฉันชื่อหนึ่ง มีเรื่องมาปรึกษาหน่อย คือดิฉันแต่งงานจดทะเบียนสมรสกับชาวอังกฤตที่เมืองไทยมาหลายปีแล้ว เรามีลูกด้วยกัน1คนอายุ12ปี แต่ตอนนี้หนึ่งกับแฟนเราแยกกันอยู่ได้หลายปีแล้ว และตอนนี้แฟนได้ย้ายไปอยู่ที่ อเมริกาและได้สัญชาติเป็นคนอเมริกาแล้ว หนูจังให้ลูกไปอยู่กับเขาเพื่อจะได้เรียนหนังและมีอนาคตที่ดีและลูกสาวอยู่ได้ที่อเมริกา2ปี แล้วคะ ตอนนี้เราแล้วตกลงจะอย่ากันที่เมืองไทย ไม่ทราบว่าหนูจะต้องอะไรอย่างบ้างคะ คือหนูไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับพวกนี้เลยคะ แล้วหนูจะมีสิทธิ์เรียกร้องอะไรจากเขาได้บ้างคะ รบกวนขอคำแนะหน่อยคะ คือกนูเป็นเด็กต่างจังหวัดไม่ค่อยรุ้เรื่องเท่าไรคะ
#3 โดย: ครรชิต [IP: 223.24.170.xxx]
เมื่อ: 2021-09-21 14:05:54
สมมุว่า มีคดี สามีเป็นชาวต่างชาติ หญิงเป็นไทย เราเป็นผู้ไกล่เกลี่ย หนังสือสัญญาหย่า ต้องมีสองฉบับใช่ไหมครับ แล้วข้อเสนอ ต่างฝ่ายต่างเสนอมา เช่น อำนาจในการปกครองบุตร ทรัพย์สิน
#4 โดย: ทนายธนู [IP: 49.228.69.xxx]
เมื่อ: 2022-09-22 07:16:27
ตอบ #2 โดย: หนึ่ง
ลูกไปอยู่กับเขาแล้ว คุณหนึ่งก็เรียกร้องอะไรไม่ได้ เอาจริงจะต้องเป็นฝ่ายให้เขาด้วยซ้ำ
#5 โดย: ทนายธนู [IP: 49.228.69.xxx]
เมื่อ: 2022-09-22 07:17:06
ตอบ #3 โดย: ครรชิต
ฉบับเดียวก็ได้ครับ

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 192,774